เกี่ยวกับเรา | บริการ | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
           
 
ปลายทาง  |  รีวิวท่องเที่ยว  |  รีวิวที่พัก  |  รีวิวร้านอาหาร  |  สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
บริการ  :   โปรโมชั่น  |  ตั๋วเครื่องบิน  |  โรงแรม ที่พัก  |  แพคเกจทัวร์ |  รถเช่า  |  ข้อมูลการเดินทาง
 
:: ปลายทางอินโดจีน
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
เมียนมาร์
 
เกี่ยวกับเรา
สำหรับผู้ประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตรกับเรา
   สะสมแต้ม โลตัสพลัส

หลวงพระบาง ย่างกุ้ง จีน, มณฑลยูนนาน ฮานอย ฮาลอง
จำปาสัก เวียงจันทน์ มัณฑะเลย์ เสียมราฐ โฮจิมินห์ซิตี้ เว้ ดานัง ฮอยอัน
 
B08,
B09

สารบัญที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
การเดินทาง
โปรโมชั่น
บันทึกความทรงจำ


หน้าแรก > เสน่ห์มนตราริมโขง  
 

เสน่ห์มนตราริมโขง แม่น้ำโขงไหลสู่ประเทศไทยที่ จ.เชียงราย เป็นเส้นแบ่งพรมแดม เริ่มต้นเข้าเขตภาคอีสานที่ จ.เลย ก่อนไหลออกไปกัมพูชาที่จ.อุบลราชธานี

 

เสน่ห์มนตราริมโขง
ไทย-ลาว ภาคเหนือ ไทย-ลาว ภาคอีสาน
   
  • ขอเชิญผู้เข้าชมเว็บไซต์รับข่าวประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่นพิเศษ ทันสถานการณ์จากสถานประกอบการต่างๆ ในดินแดนลุ่มน้ำโขง จังหวัดชายแดนไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า และจีนตอนใต้ ผ่านสื่อ MekongRiverToday fanpage และ twitter
  •  
    ไทย-ลาว ภาคเหนือ
    เชียงแสน เชียงของ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์
             
     

    เชียงราย

    อ.เชียงแสน

    สามเหลี่ยมทองคำ ความอัศจรรย์ของสามเหลี่ยมทองคำคือ นักท่องเที่ยวจะได้ชมทั้งสามประเทศในสถานที่เดียว คือ ไทย พม่า และลาว สามเหลี่ยมทองคำอยู่ห่างจากเชียงแสนไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามถนนเลียบริมแม่น้ำโขง สบรวกเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาวมาพบกับแม่น้ำรวกซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศ พม่า ในอดีตนั้นสามเหลี่ยมท่องคำเป็นแหล่งค้าขายยาเสพติดขนาดใหญ่ระดับโลกด้วยความได้เปรียบทางทำเลที่ติดต่อกับหลายประเทศ แต่ปัจจุบันได้รับการดูแลจนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

    จากชมวิวนักท่องเที่ยวจะมองเห็นดินแดน ซึ่งเชื่อมดินแดน 3 ประเทศ เข้าด้วยกัน โอบล้อมด้วยลำน้ำทอดยาวสงบนิ่ง ที่สบรวกมีบริการเรือให้เช่าเพื่อเดินทางไปชมทิวทัศน์บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ใช้เวลาเดินทาง 20 นาที และยังสามารถเช่าเรือจากสบรวกไปยังเชียงแสนและเชียงของได้ใช้เวลาเดินทาง 40 นาที และ 1 ชั่วโมงครึ่ง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีซุ้มที่สวยงามให้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกโดยมีฉากหลังที่สวยงาม อีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ นมัสการพระเชียงแสนสี่แผ่นดิน หรือ พระพุทธนวล้านตื้อ ประทับนั่งบนเรือแก้วกุศลธรรมขนาดใหญ่ ประดิษฐานกลางแจ้ง สร้างขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่โดดเด่น อาบไล้ด้วยแสงอาทิตย์มีความงดงามจับตา แล้วยังมีของที่ระลึกจำหน่ายมากมาย

    พระธาตุปูเข้า เป็นโบราณสถานอยู่บนดอยเชียงเมี่ยง ริมปากน้ำรวก เมื่อ พ.ศ. 1302 ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ ๒ แห่งเวียง หิรัญนครเงินยาง โบราณสถานประกอบด้วยพระวิหาร และกลุ่มเจดีย์ที่พัง ทลาย ก่อด้วยอิฐมีร่องรอยการตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น มีพระพุทธรูปเสี่ยงทาย นอกจากนี้บนดอยเชียงเมี่ยงยังเป็นจุดชมวิว สามารถมองเห็นสามเหลี่ยมทองคำได้ชัดเจน การเดินทาง ใช้เส้นทาง เชียงแสน-สบรวก แยกซ้ายก่อนถึงสามเหลี่ยมทองคำเล็กน้อย รถยนต์ สามารถขึ้นไปถึงยอดเขา หรือจะเดินขึ้นบันไดก็ได้

    --------------------------------------------------------------
    อ.เชียงของ

    ท่าเรือบั๊ค.. จุดผ่านแดนถาวรระหว่างไทย-ลาว ริมฝั่งแม่น้้ำโขง มองเห็น ทิวทัศน์ของเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว นักท่องเที่ยวชาวไทยสามารถข้ามไปฝั่งลาวได้โดยติดต่อที่ ว่าการอาเภอเชียงของ พร้อมรูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป สาเนาบัตรประจาตัว ประชาชน 1 ชุด และค่าธรรมเนียม 30 บาท ค่าผ่านด่านลาว 90 บาท หรือใช้พาสปอร์ต (ไม่ต้องทาวีซ่า) สาหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศต้อง ขอวีซ่าจากสถานทูตหรือจากด่านตรวจคนเข้าเมืองของลาว (ด่านเปิดทุก วัน เวลา 08.00-18.00 น.) จากจุดนี้สามารถเดินทางท่องเที่ยวโดยเรือไป ถึงหลวงพระบาง สปป.ลาว และกลับเข้าประเทศไทยที่จังหวัดหนองคายได้ ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงของ โทร. 08379 1663, 05379 1332

    บ้านหาดบ้าย.. ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางเชียงแสน-เชียงของ ถนนเลียบริม แม่น้าโขง เป็นหมู่บ้านของชาวไทลื้อมีขนบธรรมเนียมประเพณีงดงาม น่าสนใจ โดยเฉพาะฝีมือการทอผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียง จากอาเภอเชียงของ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือหางยาวไปยังบ้านหาดบ้าย โดยขึ้นเรือที่ท่าเรือ บั๊ค ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง และยังได้ชมทัศนียภาพสองฝั่งโขงอัน สวยงามอีกด้วย

    --------------------------------------------------------------
    อ.เวียงแก่น

    หาดผาได อยู่ห่างจากเทศบาลเวียงแก่น 12 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวเหมาะ สำหรับฤดูหนาว เกาะแก่งและแนวหาดทรายในลาน้าโขงปรากฏเป็นบริเวณ กว้างดูสวยงามมาก เป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-ลาว จุดนี้แม่น้ำโขงไหลเข้า สู่ประเทศลาว กลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

     

     

    พะเยา

    จังหวัดพะเยามีพื้นที่อยู่ทั้งในเขตลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือ พื้นที่อำเภอแม่ใจ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง (บางส่วน) และอำเภอเชียงคำ อาณาเขตทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดน่าน ที่อำเภอเมือง บ้านหลวงและท่าวังผา และแขวงชัยบุรีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

     

     
     

    ด้วยเพราะไม่อาจสู้อำนาจปืนไฟของฝรั่งเศสประเทศเจ้า อาณานิคมอินโดจีนได้ ประเทศสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วง รศ. 123 หรือ พ.ศ. 2447 จึงจำต้อง ยกดินแดนฝั่ง ขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสแลกกับการปลดการยึดครองเมืองจันทบุรี และนับแต่นั้นเมื่อแม่น้ำโขง เดินทางมาถึงแก่งผาไดจึงเป็นอันสิ้นสุดเขตประเทศไทยสองฟากฝั่งแม่น้ำ โขง ต่อจากที่นี่ไปจะกลายเป็นดินแดนของ สปป.ลาว อดีต รัฐใต้อาณานิคมฝรั่งเศส ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงนั้นคือดินแดน เมืองเงิน เมืองเชียงลม เมืองคอน เมืองเชียงฮ่อน ซึ่งยุคนั้นเป็นเมืองน้อยในอำนาจปกครองของเมืองน่าน พอตกไปเป็นของฝรั่งเศส และกลายเป็นของ สปป.ลาว ต่อมาความเป็นบ้านเป็นเมืองจึงเปลี่ยนไปเมืองสำคัญที่สุดกลายเป็นเมืองใหม่ ชื่อว่า เมืองไชยะบุรี มีเมืองน้อยอีกหลายเมือง เช่น เมืองปากลาย เมืองแก่นท้าว เมืองเงิน และ เมืองหงสา และแผ่นดินฝั่งนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นแขวงไชยะบุรีในปัจจุบัน

     

     

    น่าน : สายสัมพันธ์ เมืองร่วมสายน้ำ

    นันทบุรี ศรีนคร น่าน ..หากได้เดินท่องไปตามถนนสายเล็กๆ ในตัวเมืองน่าน อาจรู้สึกได้ถึงบรรยากาศที่คล้ายคลึงกับเมืองคู่แฝดอย่าง หลวงพระบาง บ้านเมืองที่อยู่กลางหุบเขาสลับซับซ้อน เมืองเล็กๆ ที่ยังมีวัดเก่าคร่ำงามแทรกแซมอย่อย่างงดงาม ในทุกกระเบียดนิ้ว โดยเฉพาะงานศิลปะลวดลายพญานาคนั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ยืนยันถึงความเกี่ยวพันกับสายน้ำโขงได้อย่างชัดเจน

    เมืองน่านที่เคยใกล้ชิดเป็นพิเศษกับหลวงพระบางในวันก่อนเก่า จึงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นเมืองมรดกโลก และกลับกลายมาเป็นเมืองคู่แฝด กับหลวงพระบางในปัจจุบัน

     

     

    อุตรดิตถ์ : เมืองท่าแห่งทิศเหนือ เส้นทางผ่านกรุงสุโขทัย สู่อาณาจักรล้านช้าง

    ด่านภูดู่ในอดีต คือ เส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงสุโขทัย กับอาณาจักรล้านช้าง หรือ กรุงศรีสัตนานคหุต (เวียงจันทร์ในปัจจุบัน) โดยมีชื่อเมืองสวางคบุรีหรืออุตรดิตถ์ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งสามารถบอกได้ว่าอุตรดิตถ์นั้นเดิมเป็นทางเดินผ่านจากกรุงสุโขทัยไปยังล้านช้าง ขณะที่เมืองปากลายเป็นเมืองท่าสำคัญของลาวตอนเหนืออยู่ติดกับแม่น้ำโขง และเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางน้ำของลาวตอนเหนือ

     
       
     
    ไทย-ลาว ภาคอีสาน
    เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม
     
    มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี  
           
     

    เลย : สัจจะแห่งสายน้ำ

    ด่านซ้าย ดินแดนแห่งสัจจะและไมตรี ...แม่น้ำเหืองเป็นสาแหรกหนึ่งของแม่น้ำโขงซึ่งทำหน้าที่เป็น พรมแดนกั้นพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเลยกับเมืองบ่อแตน และเมืองแก่นท้าวแห่งแขวงไชยะบุรี ประเทศลาว ธารน้ำ สายเล็กๆ ที่ไหลซอกซอนอยู่กลางป่านั้นเป็นเส้นสมมุติที่ มิอาจกั้นขวางความกลมเกลียวของสองประเทศ เฉกเช่น เดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่ง กรุงศรีอยุธยา กับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักร ล้านช้างหลวงพระบาง ซึ่งกระทำสัตยาบันว่าสองอาณาจักร จะไม่รุกรานกันด้วยการสร้างพระธาตุศรีสองรักไว้เป็น ประจักษ์พยาน

    เมืองด่านซ้ายอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุแห่งสัจจะนั้นเติบโต และคงอยู่ผ่านกาลเวลาหลายร้อยปี ร่วมกันเดินทางไป พร้อมๆ กับสายน้ำเหืองจนกระทั่งพบกับแม่น้ำโขงที่ไหล มาบรรจบพรมแดนไทย-ลาวอีกครั้งที่อำเภอเชียงคาน ด่านซ้าย

    เมืองด่านซ้าย ได้รับสมญานามว่า เมืองแห่งสัจจะและไมตรี เพราะเมืองแห่ง นี้เป็นที่ประดิษฐานองค์พระธาตุศรีสองรัก ซึ่งมีจารึกระบุเหตุแห่งการก่อสร้างไว้ว่า เพื่อเป็นสักขีพยานอันศักดิ์สิทธิ์ ของการให้สัตย์ปฏิญาณเป็นไมตรีและไม่ รุกรานกันระหว่างสองอาณาจักร

    แม่น้ำโขงกลับมาสร้างเสน่ห์ให้กับประเทศไทยอีกครั้ง ณ อำเภอเชียงคาน เมืองเล็กริมสายน้ำอันยิ่งใหญ่ มีบ้านไม้ เรียงราย สงบและร่มเย็นจนน่าอิจฉาคนเชียงคาน ที่มีโอกาส ซึมซับเสน่ห์ของแม่โขงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

    เมืองเชียงคานในอดีตหลายสิบปีที่ผ่านมาเป็นเมืองที่ทำการค้าขายข้ามแดนกับเมืองสานะ คามของประเทศ สปป.ลาว และ เมืองอื่นๆ ฝั่งไทยผ่านทางแม่น้ำโขงอย่างคึกคัก ตัวตลาด เมืองเชียงคานเป็นตลาดเรือน แถวไม้ริมแม่น้ำโขงที่สวยงาม

     
       

    หนองคาย - บึงกาฬ - นครพนม : ประตูสู่บ้านเพื่อน

    หนองคายเป็นอะไรมากกว่าจังหวัดใหญ่ทางภาคอีสานที่เคยได้ รับการโหวตให้เป็นเมืองน่าอยู่ติดอันดับ 7 ของโลก และยังเป็น ประตูสู่บ้านเพื่อนและเพื่อนบ้านที่เปิดโอกาสให้คนสองฟากฝั่ง ได้เดินทางทักทายกันได้อย่างสบาย ง่าย และบ่อยครั้งเท่าที่ ต้องการข้ามแม่น้ำโขงไปเยือนเวียงจันทน์ เมืองหลวงที่เจริญ ก้าวหน้าซ้อนทับไปกับรากฐานวัฒนธรรมอันดีงามที่ชาวลาว รักษาไว้ แล้วเดินทางกลับฝั่งไทย ขับรถเลาะเลียบแม่น้ำโขงไป บนเส้นทางที่สัมผัสได้ถึงวิถีชีวิตที่เรียบงามเคียงคู่สายน้ำที่ ยิ่งใหญ่ ผ่านทีหมู่บ้านที่เก็บงำ เรื่องราวและเรื่องเล่าของพญานาค ในความศรัทธา รวมทั้งประเพณีและความหลากหลายของชาว อีสานซึ่งจะมีให้เห็นได้ไปจนถึงจังหวัดนครพนม

    เส้นทางแม่น้ำโขงช่วงยาวๆ จากหนองคายถึงนครพนม ช่วงนี้เองที่เป็นเส้นทาง ประวัติศาสตร์ และเส้นทาง ความสัมพันธ์ของสองชาติ ไทย-ลาวที่ย้อนหลังกลับไป ได้นับพันปี

    แม่น้ำโขงพอไหลออกจากเมืองเชียงคานแล้วผ่านเมืองปากชม จนถึงอำเภอแรกของจังหวัดหนองคายคือเมืองสังคม ระหว่าง เชียงคานกับสังคมนี้แม่น้ำโขงมีทั้งเกาะแก่ง และหาดทรายที่ สวยงามชวนชมมากมาย พ้นจากเมืองสังคมก็เข้าสู่เมือง ศรีเชียงใหม่ เมืองท่าบ่อ จนมาถึงเมืองหนองคาย มีสะพาน มิตรภาพไทย-ลาวทอดข้ามเชื่อมความสัมพันธ์สองประเทศ แล้วแม่น้ำโขงก็ไหลเลยต่อไปผ่านอำเภอรัตนวาปี อำเภอ โพนพิสัย
    อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ จนมาถึงบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ที่นี่อีกไม่นานก็จะมีสะพาน มิตรภาพไทย-ลาว เพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง เส้นทางแม่น้ำโขงช่วง ยาวๆ จากหนองคายถึงนครพนมช่วงนี้เองที่เป็นเส้นทาง ประวัติศาสตร์ และเส้นทางความสัมพันธ์ของสองชาติไทย-ลาว ที่ย้อนหลังกลับไปได้นับพันปีเลยทีเดียว

     

     
       

    มุกดาหาร : มหัศจรรย์เมืองหินใต้บาดาล

    สุดปลายตะวันออกของดินแดนที่ราบสูงอีสาน แนวผา หนิตัดชันที่ทอดตัวยาวเหยียดขนานไปตามสายน้ำโขง เป็นระยะทางนับร้อยกิโลเมตร นั้นคือความมหัศจรรย์ ทางธรรมชาติที่รอให้ค้นหา พลังแห่งสายน้ำได้ฝาก ร่องรอยเอาไว้บนพลาญหินใต้ธาร จนกระทั่งฤดูน้ำลด ก็เผยให้เห็นความอัศจรรย์ของแก่งหินที่พราวไปด้วย ร่องรอยและหลุมกว้างอันเกิดจากกระแสน้ำกัดกร่อน ตลอดระยะเวลาหลายหมื่นปี ถัดขึ้นไปบนยอดผาหิน ยังมีธรรมชาติงดงามรอให้สัมผัส ทั้งน้ำตกงาม ลาน ดอกไม้หลากสีที่เบ่งบานต้อนรับปลายฤดูฝน

    เมืองมุกดาหาร ต้อนรับการเดินทางมาถึงของแม่น้ำโขงด้วยแก่งหิน สวยงามชื่อ แก่งกะเบา จากนั้นบนพื้นที่ใกล้เมือง ภูผาเทิบ ก็ยกตัว ขึ้นริมฝั่งพรั่งพร้อมด้วยดอกไม้ป่าหลากสีนานาพรรณต้อนรับการเข้า มาเยือนของแม่น้ำโขงสู่ดินแดนมหัศจรรย์แห่งเมืองหินใต้บาดาล ที่นับ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ชายฝั่งแม่น้ำโขงก็จะเปลี่ยนแปลงไป แผ่นดินที่ราบ เรียบจะยกตัวขึ้นเป็นหน้าผาหิน พลาญหิน แก่งหินมากมายหลายแห่ง หลายลักษณะ ก่อกำเนิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ มากมายไปจนสุด แม่น้ำโขงในแผ่นดินไทย

    ตลอดเส้นทางจากมุกดาหารมุ่งหน้าสู่อุบลราชธานี ที่มากมายด้วยรายละเอียดแห่งชีวิต สายน้ำและป่าเขา ดินแดนทั้งสองยังคงมนต์เสน่ห์ที่ไม่เคยเสื่อมจางไม่ว่าเวลา ผ่านไปกี่ยุคสมัย การเดินทางท่องไปบนเส้นทางสายนี้จะ ทำให้เราได้ค้นพบความมหัศจรรย์ ตราบเท่าที่สายน้ำโขงคือ มหานทียิ่งใหญ่อันยากจะหาสิ่งใดเปรียบเหมือน บางครั้งความสุขของการเดินทางมักถูกเติมเต็มด้วยเรื่องราวที่แสนเรียบ ง่าย และสิ่งนี้จะเป็นเสมือนบทตอนสุดท้ายเมื่อทุกคนได้ทำความรู้จัก กับมุกดาหารอย่างถ่องแท้ และค้นพบว่าจังหวัดเล็กๆ ริมน้ำโขงแห่งนี้ เปี่ยมด้วยเรื่องราวแสนสุขและมหัศจรรย์อยู่มากมาย



     

    อำนาจเจริญ

    ขับรถเลียบแม่น้ำโขงจากชานุมาน จ.อำนาจเจริญ – เขมราฐ จ.อุบลราชธาน สวยไม่เป็นรองใครสำหรับเส้นทางลัดเลาะตามแม่น้ำ โขงจากอำเภอชานุมานจนถึงอำเภอเขมราฐ ที่พาทุก คนไปดื่มด่ำชีวิตสองฟากฝั่งซึ่งแอบอิงกับสายน้ำโขง ท่ามกลางธรรมชาติงดงามน่าชื่นชม

     

     

    อุบลราชธานี

    อุบลราชธานีคือดินแดนที่ ได้ต้อนรับพระอาทิตย์ก่อนใครใน สยามด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ตะวันออกสุด มีสายน้ำโขงเป็นพรมแดนระหว่าง ไทย–ลาว เพราะการเป็นอู่อารยธรรม แห่งลุ่มน้ำโขง ชี มูล มาแต่สมัย โบราณ อุบลราชธานี จึงเป็นจังหวัด ที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง ถือ เป็นหัวเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภาค อีสานเลยทีเดียว

    อ.เขมราฐ

    สงบงาม ณ แก่งช้างหมอบ.. เดินทางเข้าสู่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างทาง แวะ ชมความงดงามของแก่งช้างหมอบ ซึ่งมีเอกลักษณ์พิเศษที่ไม่เหมือน ใครคือ ยามน้ำลด จะมีแก่งน้ำใส ไม่ตื้นไม่ลึกจนเกินไป มีบรรยากาศ ที่สวยงาม แต่ทว่ายังไม่เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวมากนัก อย่างไร ก็ตาม…ความเงียบสงบของแก่งนี้ ทำให้เป็นที่ที่มีมนต์เสน่ห์สะกดให้ หยุดดื่มด่ำทัศนียภาพแห่งผาหินขนาดใหญ่ได้อย่างอิ่มเอมใจ

    โฮมสเตย์บ้านลาดเจริญ.. ที่บ้านลาดเจริญแห่งนี้ นอกจากเป็นมุมสวยริมฝั่งโขง เป็นท่าเรือข้าม ฟากระหว่างไทย-ลาว ที่นี่ยังเป็นโฮมสเตย์เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่อยากสัมผัสวัฒนธรรมความเป็นอยู่สองฝั่งโขงอย่างใกล้ชิด อิ่ม เอมกับอาหารปรุงจากปลาแม่น้ำโขง ชมแหล่งผลิตหัตถกรรมจากไม้ เก่าซึ่งนำมาจากประเทศลาว ในชุมชนยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ “เวินไก่แม่ฟัก” และ “คอนหมู” รวมทั้งชมทิวทัศน์ที่หาชมได้ ยากของสองฝั่งแม่น้ำโขง

    ตลาดนัดไทย-ลาว.. ที่บ้านลาดเจริญ ทุกวันอังคาร บริเวณ “เหล่ากกไฮ” ซึ่ง เป็นท่าเรือสินค้าข้ามฟากไป มาระหว่างคนไทยกับคนลาวที่มี ผาหินปูนเป็นทัศนียภาพเหนือ แม่น้ำโขงที่สวยงาม จะมีตลาด นัดไทย-ลาวจดั ขึ้นเปน็ ประจำ มี สินค้าพื้นบ้านและข้าวของเครื่องใช้ ให้เลือกซื้อตามใจชอบ

    --------------------------------------------------------------
    อ.โพธิ์ไทร

    ตำนานสามพันโบก.. สามพันโบกมีตำนานอยู่หลาย เรื่อง อาทิ ตำนานหินหัวสุนัขตรง ทางเข้าซึ่งจะพบหินคล้ายหัวสุนัข ตำนานหาดหินสีหรือทุ่งหินเหลื่อม ตำนานปู่จกปู อันเป็นหลุมโบกที่ เกิดขึ้นนับไม่ถ้วน แม้ไม่มีบทสรุป ต่อตำนานเหล่านี้ หากนักท่องเที่ยว ก็ได้สรุปร่วมกันแล้วว่าที่นี่คือความ มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติโดยแท้

    ผาชันยังคงเป็น “อันซีน” ของอุบลฯ ที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้สามพันโบก เพียงแต่ยัง ไม่เป็นที่รู้จักเท่านั้น ลักษณะของผาชัน เกิดจากการกัดเซาะของน้ำโขงมานาน นับร้อยนับพันปี เกิดร่องลึกลงไป ครั้น ฤดูแล้งน้ำโขงลดระดับจึงมองเห็นเป็น หุบเหวลึกน่าหวาดเสียว หากนั่งเรือ ล่องแม่น้ำจะมองเห็นผาชันนี้สูงใหญ่ น่าเกรงขาม

    ประเพณีการตักปลา เดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ บ้านสองคอนจะคึกคักเมื่อ นักท่องเที่ยวพากันมาชม ประเพณีการตักปลา หน้าปาก บ้อง เฝ้ามองดูการจับปลาที่ แปลกกว่าที่อื่น โดยไม่ต้องใช้ เหยื่อตกเบ็ดหรือทอดแห แต่ ใช้สวิงขนาดใหญ่ด้ามยาวคอย ตักปลาขึ้นมาน่าตื่นตา

    --------------------------------------------------------------
    อ.โขงเจียม

    ตะวันขึ้นเหนือ ผาชนะได ผาชนะได.. ตั้งอยู่ในเขตป่าดงนาทาม คือจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นจุดแรกสุดในเมืองไทย เป็นชะง่อนผา ที่ยื่นตระหง่านไปในฝั่งโขง ในช่วงฤดูหนาว นอกจากจะได้ทักทายดวงตะวันสาดแสงเหนือสายน้ำโขง แล้ว ยังเป็นฤดูกาลบานสะพรั่งของเหล่าดอกไม้ป่าที่เบ่งบานอวดสีสันรับสายลมหนาว

    ชมสวนผลไม้ที่ชายโขง ใกล้ๆ กันกับบ้านกุ่มและบ้านท่าล้ง แวะเที่ยวชมสวนเกษตรริมโขงแห่งบ้านตามุย ที่ เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้าไปเยี่ยมชม ไม่ว่าจะเป็นสวนลำไย ส้มโอ ฝรั่ง มะขาม นอกจากได้สนุกกับการเดินชมสวนแล้วยังได้ดื่มด่ำทัศนียภาพร่มรื่นแห่งสายน้ำโขง ไปด้วยในคราวเดียวกัน

    งานประเพณีออกบุญพรรษา.. เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก หลายชุมชนริมฝั่งโขง ในอุบลฯ มีชีวิตชีวาด้วยงานแข่งเรือยาว มหัศจรรย์สายน้ำโขง ชี มูล ซึ่งตรงกับช่วงวัน ออกพรรษา อันสะท้อนถึงวิถีของผู้คนที่ร้อยรัด กับสายน้ำไว้อย่างแนบแน่น ช่วงเวลาดังกล่าว จะมีทั้งงานบุญออกพรรษา ไหลเรือไฟแม่น้ำ มูล ไหลเรือไฟแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นการไหลเรือไฟ แบบพื้นบ้านที่อำเภอโขงเจียม และยังสามารถ ชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคที่หมู่บ้านริม โขงเบื้องล่างของผาแต้มคือ หมู่บ้านกุ่ม บ้าน ตามุย และบ้านท่าล้ง ได้อีกด้วย

    ชมโขงสีปูน มูลสีคราม .. ณ ดอนด่านปากแม่น้ำมูล คือจุดที่แม่น้ำสองสาย มาบรรจบกัน คือ แม่น้ำโขงสีปูน แม่น้ำมูลสีคราม นอกจากการชมจากบนสะพานแม่น้ำมูลที่เผยให้ เห็นความงดงามนี้ ยังมีจุดที่เราสามารถชมได้ชัดเจน ได้แก่บริเวณลาดริมตลิ่ง แม่น้ำมูล แม่น้ำโขงหน้า วัดโขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วย หมากใต้ โดยเฉพาะในเดือนเมษายน จะเป็นเดือน ที่เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุด

    เวินบึก...โบกมือลาสายน้ำโขง ได้เวลาโบกมือลาแม่น้ำโขงที่บ้านเวินบึก อำเภอโขงเจียม ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทยก่อนที่จะ เข้าสู่ประเทศลาว คำว่า “เวินบึก” นั้น คือบริเวณที่ปลาบึก ว่ายเข้ามาในลำน้ำหน้าหมู่บ้าน ซึ่งเป็นจุดลึกสุดของน้ำโขง และในบริเวณนั้นเองยังเป็นจุดที่ชาวบ้านมาจับปลาบึกใน ฤดูกาลล่าปลาบึก

     

     
       
     
     
    ที่มาของภาพ และข้อมูล
    กองการต่างประเทศ สป.
    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
    ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์
     
     
    :: ประตูสู่อินโดจีน
    ข้อมูลแม่น้ำโขง
    อินโดจีน
    ไทยประตูสู่อินโดจีน
    เมืองชายแดนประเทศไทย
    โปรโมชั่นลุ่มแม่น้ำโขง
    การเดินทาง
    กรอบความร่วมมือ GMS
    ข่าว บทความ ไทยประตูสู่อินโดจีน
    ปลายทางอินโดจีน
       ลาว > หลวงพระบาง-เวียงจันทน์
       ลาวใต้ > ปากเซ
       จีนตอนใต้ > สิบสองปันนา นครคุนหมิง
       เวียดนามเหนือ > ฮานอย ฮาลอง
       เวียดนามกลาง > เว้ ดานัง ฮอยอัน
       เวียดนามใต้ > โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
       เมียนมาร์ > ย่างกุ้ง หงสาวดี อินทร์แขวน สิเรียม
       เมียนมาร์ > มัณฑะเลย์ พุกาม อินเล
       กัมพูชา > เสียมราฐ นครวัด นครธม
       กัมพูชา > พะตะบอง พนมเปญ

    เส้นทางท่องเที่ยว อินโดจีน
    ปฏิทินท่องเที่ยว
    สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
    บันทึกความทรงจำ
    รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
    รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
    ห้องภาพ

     
    A2
    A3
     
    :: Banner tour 1
     
    :: Banner tour 2
     

     
     
     
     
     
    เมืองชายแดนไทย-ลาว เมืองชายแดนไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา เมืองชายแดนไทย-พม่า ข้อมูลการเดินทาง
    ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
    ห้วยโกร๋น, จ.น่าน
    บ้านฮวก, จ.พะเยา
    เชียงของ, จ.เชียงราย
    ท่าลี่, จ.เลย
    จ.หนองคาย 
    จ.บึงกาฬ
    จ.อำนาจเจริญ
    จ.อุบลราชธานี
    จ.นครพนม
    จ.มุกดาหาร
    จ.อุบลราชธานี
    จ.หนองคาย
    ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
    เชียงของ, จ.เชียงราย
    อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
    จ.ศรีสะเกษ
    จ.สุรินทร์
    จ.บุรีรัมย์
    อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
    จ.จันทบุรี
    บ้านหาดเล็ก, จ.ตราด
    แม่สาย, จ.เชียงราย
    จ.เชียงใหม่
    จ.แม่ฮ่องสอน
    แม่สอด, จ.ตาก
    จ.กาญจนบุรี
    จ.ประจวบคีรีขันธ์
    จ.ระนอง
    เอกสารการเดินทาง
    รถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ
             
    ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า จีนตอนใต้
    ที่พัก หลวงพระบาง
    ที่พัก นครเวียงจันทน์
    ที่พัก วังเวียง
    ที่พัก จำปาสัก
    ที่พัก ไชยะบุรี
    ที่พัก เดียนเบียนฟู
    ที่พัก กว๋างนิง
    ที่พัก ฮานอย ฮาลอง
    ที่พัก เว้
    ที่พัก ดานัง
    ที่พัก ฮอยอัน
    ที่พัก โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
    ที่พัก เสียมราฐ
    ที่พัก พนมเปญ
    ที่พัก พะตะบอง
    ที่พัก เกาะกง
    ที่พัก กรุงสีหนุวิลล์
    ที่พัก เชียงตุง
    ที่พัก เมืองลา
    ที่พัก เมียวดี
    ที่พัก ย่างกุ้ง
    ที่พัก มัณฑะเลย์
    ที่พัก พุกาม
    ที่พัก อินเล
    ที่พัก สิบสองปันนา
    ที่พัก คุนหมิง
       
    ที่พัก เมืองชายแดนไทย
    ไทย-ลาว และจีนตอนใต้
    ไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม
    ไทย-กัมพูชา
    ไทย-พม่า
       
             
    ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท  แพคเกจทัวร์ รถเช่า  อินเตอร์เน็ตและโทรข้ามแดน
    ในประเทศ
    ต่างประเทศ 
    เมืองชายแดนไทย
    ลาว
    จีนตอนใต้
    เวียดนาม
    กัมพูชา
    พม่า
    เมืองชายแดนไทย
    ลาว
    จีนตอนใต้
    เวียดนาม
    กัมพูชา
    พม่า
    ในประเทศ
    ต่างประเทศ 
    ในประเทศ
    ต่างประเทศ