เกี่ยวกับเรา | บริการ | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
           
 
ปลายทาง  |  รีวิวท่องเที่ยว  |  รีวิวที่พัก  |  รีวิวร้านอาหาร  |  สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
บริการ  :   โปรโมชั่น  |  ตั๋วเครื่องบิน  |  โรงแรม ที่พัก  |  แพคเกจทัวร์ |  รถเช่า  |  ข้อมูลการเดินทาง
 
:: ปลายทางอินโดจีน
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
เมียนมาร์
 
เกี่ยวกับเรา
สำหรับผู้ประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตรกับเรา
   สะสมแต้ม โลตัสพลัส

หลวงพระบาง ย่างกุ้ง จีน, มณฑลยูนนาน ฮานอย ฮาลอง
จำปาสัก เวียงจันทน์ มัณฑะเลย์ เสียมราฐ โฮจิมินห์ซิตี้ เว้ ดานัง ฮอยอัน
 
B08,
B09

สารบัญที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
การเดินทาง
โปรโมชั่น
บันทึกความทรงจำ


หน้าแรก > กรอบความร่วมมือ GMS (Greater Mekong Sub region)  
 

ภูมิหลัง GMS

       โครงการ GMS เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535  โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก กลุ่มประเทศ GMS มีพื้นที่รวมกันประมาณ 2 ล้าน 3 แสน ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ พื้นที่ของยุโรปตะวันตก มีประชากรรวมกันประมาณ 250 ล้านคน และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       โครงการ GMS มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ  สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก


สาขาความร่วมมือของ GMS มี 9 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน เกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 
  
แผนงานลำดับความสำคัญสูง (Flagship Programs) จำนวน 11 แผนงาน ได้แก่

1)    แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) 
2)    แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก  (East-West Economic Corridor)
3)    แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor)
4)    แผนงานพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone)
5)    แผนงานซื้อ-ขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Regional Power Interconnection and Trading
       Arrangements)
6)    แผนงานการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and 
       Investment)
7)    แผนงานเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (Enhancing Private Sector
       Participation and Competitiveness)
8)    แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะความชำนาญ (Developing Human Resources and Skills 
       Competencies)
9)    กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Strategic Environment Framework)
10)  แผนงานการป้องกันน้ำท่วมและการจัดการทรัพยากรน้ำ (Flood Control and Water Resource  Management)
11)  แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยว (GMS Tourism Development)

กลไกการทำงานของ GMS

แบ่งเป็นการดำเนินการ 4 ระดับ ได้แก่

การประชุมระดับคณะทำงานของแต่ละสาขาความร่วมมือเพื่อประสานงานความคืบหน้าของกิจกรรมต่าง ๆ
 
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ซึ่งจัดปีละ 1-2 ครั้ง

การประชุมระดับรัฐมนตรีซึ่งจัดปีละ 1 ครั้ง โดยในปี 2547 ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 13 ณ เวียงจันทน์ สปป. ลาว ระหว่าง 13-16ธันวาคม 2547

การประชุมระดับผู้นำ  ซึ่ง จัดทุก 3 ปี โดยกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำ GMS ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2545 และจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำ GMS ครั้งที่ 2 ในปี 2548




สาขาความร่วมมือของ GMS
มี 9 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน เกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 
  
แผนงานลำดับความสำคัญสูง (Flagship Programs) จำนวน 11 แผนงาน ได้แก่

1)    แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) 
2)    แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก  (East-West Economic Corridor)
3)    แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor)
4)    แผนงานพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone)
5)    แผนงานซื้อ-ขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Regional Power Interconnection and Trading
       Arrangements)
6)    แผนงานการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and 
       Investment)
7)    แผนงานเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (Enhancing Private Sector
       Participation and Competitiveness)
8)    แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะความชำนาญ (Developing Human Resources and Skills 
       Competencies)
9)    กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Strategic Environment Framework)
10)  แผนงานการป้องกันน้ำท่วมและการจัดการทรัพยากรน้ำ (Flood Control and Water Resource  Management)
11)  แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยว (GMS Tourism Development)

กลไกการทำงานของ GMS

แบ่งเป็นการดำเนินการ 4 ระดับ ได้แก่

การประชุมระดับคณะทำงานของแต่ละสาขาความร่วมมือเพื่อประสานงานความคืบหน้าของกิจกรรมต่าง ๆ
 
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ซึ่งจัดปีละ 1-2 ครั้ง

การประชุมระดับรัฐมนตรีซึ่งจัดปีละ 1 ครั้ง โดยในปี 2547 ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 13 ณ เวียงจันทน์ สปป. ลาว ระหว่าง 13-16ธันวาคม 2547

การประชุมระดับผู้นำ  ซึ่ง จัดทุก 3 ปี โดยกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำ GMS ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2545 และจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำ GMS ครั้งที่ 2 ในปี 2548



ความคืบหน้าการดำเนินงาน GMS ที่สำคัญ

1. การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) – เชื่อมโยงไทย-พม่า/ลาว-จีน

       1.1 เส้นทางสาย แม่สาย–เชียงตุง-เชียงรุ่ง-คุนหมิง ไทยช่วยสร้างสะพานมิตรภาพ ข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 แบบ
       ให้เปล่าด้วยวงเงิน 38 ล้านบาท และได้มีการเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 และเส้นทางแม่สาย–เชียงตุง-
       เชียงรุ่งในเดือน กรกฎาคม 2547

       1.2 เส้นทางสาย เชียงของ–หลวงน้ำทา-เชียงรุ่ง-คุนหมิง ไทย จีน และ ADB ให้ความช่วยเหลือการก่อสร้างเส้น
       ทางในส่วนของ สสป. ลาวฝ่ายละ 1 ใน 3 ของค่าก่อสร้าง โดยไทยให้ความช่วยเหลือแบบเงินกู้ผ่อนปรนด้วยวง
       เงิน 1385 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จในปี 2548 อนึ่งรัฐบาลไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะช่วยสร้าง
       สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เชียงของ-ห้วยทราย โดยจะรับผิดชอบค่าก่อสร้างครึ่งหนึ่ง และ ADB ก็แสดงความสนใจที่
       จะให้เงินกู้แก่ฝ่ายลาวส่วนหนึ่งด้วย

       1.3 เส้นทางสาย ห้วยโก๋น–ปากแบ่ง โครงการปรับปรุงเส้นทางจากห้วยโก๋น (จ. น่าน)-เมืองเงิน (แขวงไชยบุรี)–
       ปากแบ่ง (แขวงอุดมไชย) ระยะทาง 49.22 กม. ซึ่งไทยจะให้ความช่วยเหลือด้วยวงเงิน 840 ล้านบาท โดยเป็นเงิน
       กู้ผ่อนปรน (ร้อยละ 70) และเงินให้เปล่า (ร้อยละ 30) คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จในปี 2549  โดยเส้นทางนี้จะสามารถ
       เชื่อมต่อจาก จ. น่าน ไปยังประเทศจีน (ผ่านทางไชยบุรี-บ่อเต้น) และเชื่อมต่อไปยังหลวงพระบาง

2. การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก(East-West Economic Corridor) – เชื่อมโยงพม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม

       2.1 ฝั่งตะวันออก: มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ดองฮา-เว้-ดานัง

            - สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ไทยและลาวได้กู้เงินจาก JBIC มาดำเนินการก่อสร้างเป็นวงเงิน 4,700 ล้านเยน
             (ส่วนของไทย 2,300 ล้านเยน) ได้มีการลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างสะพานเมื่อ 3 ธ.ค. 2546 และคาดว่าจะ
             ก่อสร้างเสร็จในปี 2548 (6 เดือนก่อนกำหนดเดิม)

            - เส้นทางหมายเลข 9 (ในลาว) การปรับปรุงและซ่อมแซมเส้นทาง สะหวันนะเขต-เมืองพิน-แดนสวรรค์ ระยะ
             ทางประมาณ 210 กม. โดย JICA และ ADB ให้การสนับสนุนด้านการเงิน ซึ่งได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 
             23 เม.ย. 2547

            - เส้นทางหมายเลข 9 (ในเวียดนาม) และท่าเรือน้ำลึกดานัง ADB JBIC และรัฐบาลเวียดนามให้การสนับ
             สนุนด้านการเงินในการก่อสร้างเส้นทางลาวบ๋าว-ดองฮา อุโมงค์ไฮ วัน และการปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกดานัง 
             บางส่วนของการก่อสร้างแล้วเสร็จและคาดว่าทั้งโครงการจะเสร็จสมบูรณ์ในปลายปี 2547

       2.2 ฝั่งตะวันตก: แม่สอด-เมาะลำไย ไทยจะให้ความช่วยเหลือเส้นทางช่วงแม่สอด-เมียวดี-กอกะเร็ก-พะอัน-
       ท่าตอน ระยะทางประมาณ 198 กม (โดยจะสร้างถนนให้เปล่าในช่วง 18 กม. แรก และให้กู้ในส่วนที่เหลือ) 
       ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางแม่สอด-เมียวดี-เมาะลำไย โดยรัฐบาลไทยตกลงในหลักการที่จะให้เงินกู้สำหรับ
       การก่อสร้างช่วงกอกะเร็ก-เมาะลำไย ในระยะ ต่อไป

3. การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) – เชื่อมโยง ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม

       3.1 เส้นทาง ตราด-เกาะกง-สแรแอมปึล เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลไทย-กัมพูชา-เวียดนาม 
       (R10) โดยไทยให้ความช่วยเหลือแบบเงินกู้ผ่อนปรน 567.7 ล้านบาท เพื่อการปรับปรุงถนนระยะทาง 
       151.5 กม. และให้เปล่า 288 ล้านบาท เพื่อการก่อสร้างสะพานขนาดใหญ่ 4 แห่ง

       3.2 เส้นทาง ช่องสะงำ-อันลองเวง–เสียมราฐ การปรับปรุงถนนระยะทาง 167 กม. ซึ่งจะเชื่อมโยงระหว่าง
       ภาคอีสานใต้ของไทยกับเมืองเสียมราฐ โดยจะเริ่มเจรจาเงื่อนไขสัญญาเงินกู้กลางปี 2547


4. ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
(GMS Cross Border Transport Agreement) เป็นความตกลงที่ช่วยอำนวยความสะดวกการผ่านแดนและข้ามแดนของคนและสินค้าใน   อนุภูมิภาค ประเทศภาคีสมาชิกทั้ง 6 ประเทศได้ให้สัตยาบันความตกลงฯ แล้ว และได้มีการประกาศการมีผลบังคับใช้ของความตกลงฯ (ส่วนกรอบความตกลง) เมื่อ30 เม.ย. 47 และตั้งแต่ต้นปี 2546 ประเทศภาคีสมาชิกได้เจรจาในรายละเอียดของส่วนภาคผนวกแนบท้ายความตกลง ฯ  (Annex) 16 ฉบับและพิธีสาร (Protocol) 3 ฉบับ โดยได้รับความช่วยเหลือด้านวิชาการจาก ADB และ ESCAP โดยคาดว่าจะสามารถจัดทำภาคผนวกและพิธีสารให้แล้วเสร็จในปี 2548

5. ความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (Quadripartite Agreement on Commercial Navigation on Lancang – Mekong River)
ไทย ลาว พม่า จีน ได้ลงนามร่วมกันในความตกลงว่าด้วยการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2543 ณ จังหวัดท่าขี้เหล็ก พม่า และมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนเมษา 2544 โดยความตกลงฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อการอำนวยความสะดวกการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน และจีนได้ให้การสนับสนุน การปรับปรุงร่องน้ำเพื่อการเดินเรือ (เคลื่อนย้ายเกาะแก่งและหาดตื้นที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือในลำน้ำโขงตลอด ช่องแนวช่องทางเดินเรือ 331 กิโลเมตร เพื่อให้ช่องทางมีขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า 35 เมตร และลึกประมาณ 3 เมตร) ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จแล้ว 10 จุด ส่วนจุดสุดท้ายที่บริเวณแก่งคอนผีหลวง ครม. ได้มีมติเมื่อ 8 เม.ย. 2546 มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยว กับผลกระทบด้านต่างๆ (ในไทย) ที่ยังมีความกังวลอยู่  บัดนี้ (ก.ค. 47) ผลการศึกษาดังกล่าวได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยระบุว่าผลกระทบของโครงการฯ ต่อสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและวิถีชีวิต แหล่งท่องเที่ยว โบราณสถานและวัฒนธรรม จะอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามผลจากการดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ยังสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนในพื้นที่ยังมีข้อวิตกกังวลเกี่ยวกับโครงการนี้อยู่

6. ความร่วมมือด้านพลังงาน
ประเทศ GMS ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการซื้อขายไฟฟ้าและการสร้างเครือ ข่ายสายส่งระหว่างรัฐบาล 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง  (Inter-Governmental Agreement on Regional Power Trade) เมื่อ 3 พ.ย. 2545 โดยความตกลงนี้มีจุดประสงค์ให้ประเทศสมาชิกร่วมมือและวางแผนพัฒนาระบบส่ง ไฟฟ้าที่ประหยัด และมีความมั่นคง รวมไปถึงกลไกในการดำเนินการซื้อขายไฟฟ้าในอนุภูมิภาค

7. ความร่วมมือด้านโทรคมนาคม
ประเทศ ไทยโดยบริษัท ทศท คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการจัดสร้างโครงข่ายระบบเคเบิลใยแก้วตามโครงการ Telecommunication Backbone Project ในส่วนของไทยครบทุกจุดที่  เกี่ยวข้องแล้ว และยังได้เปิดให้บริการในเส้นทางระหว่างอรัญประเทศ (ไทย)–ปอยเปต (กัมพูชา) และระหว่างหนองคาย (ไทย)–เวียงจันทน์ (สปป.ลาว) แล้ว ขณะนี้รอความพร้อมในการเชื่อมโยงกับจีน พม่า และจุดเชื่อมโยงอื่นๆ ของลาว

8. ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
โครงการ จัดทำแผนการตลาดท่องเที่ยว Six Countries One Destination โดยมี Agency for Coordinating Mekong Tourism Activities (AMTA) ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นศูนย์ประสานงานหลักด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยง ระหว่างประเทศในรูปแบบของ package tour โดยจะเน้นตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ 3 แนวหลัก ตลอดจนการศึกษา GMS Visa เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวจากนอกอนุภูมิภาค

9. ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ไทย ส่งเสริมให้มีการดำเนินตามแผนงาน Phnom Penh Plan ซึ่งเป็นแผนงานพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเฉพาะการดำเนินงานของ AIT และ สถาบันลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong Institute) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2537 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนิวซีแลนด์กับรัฐบาลไทย
 
ข่าว และบทความที่เกี่ยวข้อง
อินโดจีน
คาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ ของทวีปเอเชีย ตั้งอยู่ทางใต้ของ สาธารณรัฐประชาชนจีน และ ทางตะวันออกของ ประเทศอินเดีย
  แม่น้ำโขง สายน้ำในตำนาน
แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายใหญ่ของโลกที่มีความยาวประมาณ 4,900 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 10 ของโลก มีต้นน้ำอยู่บนภูเขาจี้ฟู

         
 
ที่มาของภาพ และข้อมูล
กระทรวงการต่างประเทศ
Greater Mekong Subregion Environment Operations Center
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์
 
:: ประตูสู่อินโดจีน
ข้อมูลแม่น้ำโขง
อินโดจีน
ไทยประตูสู่อินโดจีน
เมืองชายแดนประเทศไทย
โปรโมชั่นลุ่มแม่น้ำโขง
การเดินทาง
กรอบความร่วมมือ GMS
ข่าว บทความ ไทยประตูสู่อินโดจีน
ปลายทางอินโดจีน
   ลาว > หลวงพระบาง-เวียงจันทน์
   ลาวใต้ > ปากเซ
   จีนตอนใต้ > สิบสองปันนา นครคุนหมิง
   เวียดนามเหนือ > ฮานอย ฮาลอง
   เวียดนามกลาง > เว้ ดานัง ฮอยอัน
   เวียดนามใต้ > โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
   เมียนมาร์ > ย่างกุ้ง หงสาวดี อินทร์แขวน สิเรียม
   เมียนมาร์ > มัณฑะเลย์ พุกาม อินเล
   กัมพูชา > เสียมราฐ นครวัด นครธม
   กัมพูชา > พะตะบอง พนมเปญ

เส้นทางท่องเที่ยว อินโดจีน
ปฏิทินท่องเที่ยว
สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
บันทึกความทรงจำ
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
ห้องภาพ

 
A2
A3
 
:: Banner tour 1
 
:: Banner tour 2
 

 
 
 
 
 
เมืองชายแดนไทย-ลาว เมืองชายแดนไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา เมืองชายแดนไทย-พม่า ข้อมูลการเดินทาง
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
ห้วยโกร๋น, จ.น่าน
บ้านฮวก, จ.พะเยา
เชียงของ, จ.เชียงราย
ท่าลี่, จ.เลย
จ.หนองคาย 
จ.บึงกาฬ
จ.อำนาจเจริญ
จ.อุบลราชธานี
จ.นครพนม
จ.มุกดาหาร
จ.อุบลราชธานี
จ.หนองคาย
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
เชียงของ, จ.เชียงราย
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.ศรีสะเกษ
จ.สุรินทร์
จ.บุรีรัมย์
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.จันทบุรี
บ้านหาดเล็ก, จ.ตราด
แม่สาย, จ.เชียงราย
จ.เชียงใหม่
จ.แม่ฮ่องสอน
แม่สอด, จ.ตาก
จ.กาญจนบุรี
จ.ประจวบคีรีขันธ์
จ.ระนอง
เอกสารการเดินทาง
รถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ
         
ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า จีนตอนใต้
ที่พัก หลวงพระบาง
ที่พัก นครเวียงจันทน์
ที่พัก วังเวียง
ที่พัก จำปาสัก
ที่พัก ไชยะบุรี
ที่พัก เดียนเบียนฟู
ที่พัก กว๋างนิง
ที่พัก ฮานอย ฮาลอง
ที่พัก เว้
ที่พัก ดานัง
ที่พัก ฮอยอัน
ที่พัก โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
ที่พัก เสียมราฐ
ที่พัก พนมเปญ
ที่พัก พะตะบอง
ที่พัก เกาะกง
ที่พัก กรุงสีหนุวิลล์
ที่พัก เชียงตุง
ที่พัก เมืองลา
ที่พัก เมียวดี
ที่พัก ย่างกุ้ง
ที่พัก มัณฑะเลย์
ที่พัก พุกาม
ที่พัก อินเล
ที่พัก สิบสองปันนา
ที่พัก คุนหมิง
   
ที่พัก เมืองชายแดนไทย
ไทย-ลาว และจีนตอนใต้
ไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม
ไทย-กัมพูชา
ไทย-พม่า
   
         
ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท  แพคเกจทัวร์ รถเช่า  อินเตอร์เน็ตและโทรข้ามแดน
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
ในประเทศ
ต่างประเทศ