เกี่ยวกับเรา | บริการ | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
           
 
ปลายทาง  |  รีวิวท่องเที่ยว  |  รีวิวที่พัก  |  รีวิวร้านอาหาร  |  สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
บริการ  :   โปรโมชั่น  |  ตั๋วเครื่องบิน  |  โรงแรม ที่พัก  |  แพคเกจทัวร์ |  รถเช่า  |  ข้อมูลการเดินทาง
 
:: ปลายทางอินโดจีน
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
เมียนมาร์
 
เกี่ยวกับเรา
สำหรับผู้ประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตรกับเรา
   สะสมแต้ม โลตัสพลัส

หลวงพระบาง ย่างกุ้ง จีน, มณฑลยูนนาน ฮานอย ฮาลอง
จำปาสัก เวียงจันทน์ มัณฑะเลย์ เสียมราฐ โฮจิมินห์ซิตี้ เว้ ดานัง ฮอยอัน
 
B08,
B09

สารบัญที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
การเดินทาง
โปรโมชั่น
บันทึกความทรงจำ


หน้าแรก > มรดกโลกในประเทศไทย  
มรดกโลกในประเทศไทย (World Cultural Heritage)
จุดหมายปลายทาง
แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่–ห้วยขาแข้ง
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ผืนป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  
   
 
แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๓ แห่ง
 
๑. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร    (พุทธศักราช ๒๕๓๔)
      (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns, 1991)

 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๑๕   เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔  ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่ ๑ และข้อที่ ๓ ดังนี้

  (i) เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  (iii)

เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

โบราณสถานที่สำคัญ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
โบราณสถานกลางเมือง : วัดมหาธาตุ, วัดศรีสวาย, วัดสระศรี, วัดตระพังเงิน, วัดสรศักดิ์
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ : วัดพระพายหลวง, วัดศรีชุม, เตาทุเรียง,
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันออก : วัดตะพังทองหลาง, วัดเจดีย์สูง, วัดช้างล้อม,
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ : วัดเชตุพน, วัดเจดีย์สี่ห้อง, วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม,
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตก : วัดป่ามะม่วง, วัดสะพานหิน, สรีดภงส์ (ทำนบพระร่วง)
โบราณสถานที่สำคัญ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
โบราณสถานภายในกำแพงเมือง : วัดช้างล้อม, วัดช้างล้อม, วัดนางพญา
โบราณสถานนอกเมืองด้านทิศตะวันออก : วัดสวนสัก, วัดป่าแก้วหรือวัด ไตรภูมิป่าแก้ว
โบราณสถานนอกเมืองด้านทิศเหนือ : วัดกุฎีราย, กลุ่มเตาทุเรียงบ้านเกาะน้อย
โบราณสถานนอกเมืองด้านทิศตะวันตก : วัดพญาดำ, วัดพรหมสี่หน้า, วัดยายตา, วัดเจดีย์เจ็ดยอดหรือเจดีย์เก้ายอด, วัดสระปทุม
โบราณสถานนอกเมืองด้านทิศใต้ : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ, วัดชมชื่น
โบราณสถานที่สำคัญ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
โบราณสถานภายในกำแพงเมือง : วัดพระแก้ว, ศาลพระอิศวร, วังโบราณหรือสระมน,
โบราณสถานนอกกำแพงเมือง หรือเขตอรัญญิก : วัดพระสี่อิริยาบถ, วัดพระสี่อิริยาบถ, วัดพระนอน, วัดช้างรอบ, วัดอาวาสใหญ่,
โบราณสถานเมืองนครชุม : วัดพระบรมธาตุ, วัดเจดีย์กลางทุ่ง, วัดหนองพิกุล, ป้อมทุ่งเศรษฐี

คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก โบราณสถานที่สำคัญ
ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” เป็น ต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชีย อาคเนย์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ เป็นเวลานานประมาณ ๒๐๐ ปี ด้วยความโดดเด่นนี้เองส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้น ทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยคุณค่าความโดดเด่นตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

               หลักเกณฑ์ข้อที่ ๑
               “เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์”

               หลักเกณฑ์ข้อที่ ๓
               “เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว”

               โบราณวัตถุสถานที่ปรากฏอยู่ในเมืองประวัติศาสตร์ทั้ง ๓ เมืองนี้ แสดงให้เห็นถึงผลงานสร้างสรรค์อันล้ำเลิศของมนุษย์ ความงดงามอลังการของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสุโขทัย เป็นต้นแบบที่ส่งอิทธิพลให้ศิลปกรรมไทยในระยะต่อมา ความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และพระพุทธรูปลีลา เป็นสิ่งยืนยันถึงความสำเร็จของศิลปกรรมไทยยุคแรกนี้ได้เป็นอย่างดี

เข้าสู่หน้า จังหวัดสุโขทัย >>

More >>
 
๒. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (พุทธศักราช ๒๕๓๔)
(Historic City of Ayutthaya, 1991)

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  (iii)

เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

โบราณสถานสำคัญ
เขต ๑ พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ : พระราชวังโบราณ, วัดพระศรีสรรเพชญ์, วัดมหาธาตุ, วัดราชบูรณะ, วัดพระราม, วิหารพระมงคลบพิตร

เขต ๒ พื้นที่เกาะเมืองนอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ : พระราชวังจันทรเกษม, วัดสุวรรณดาราราม,
เขต ๓ พื้นที่นอกเกาะเมืองด้านทิศตะวันออก : วัดพนัญเชิง, วัดใหญ่ชัยมงคล, วัดมเหยงคณ์, หมู่บ้านญี่ปุ่น, หมู่บ้านฮอลันดา
เขต ๔ พื้นที่นอกเกาะเมืองด้านทิศตะวันตก : วัดไชยวัฒนาราม , วัดวรเชษฐาราม,
เขต ๕ พื้นที่นอกเกาะเมืองด้านทิศเหนือ : วัดภูเขาทอง, วัดหน้าพระเมรุ, เพนียดคล้องช้าง
เขต ๖ พื้นที่นอกเกาะเมืองด้านทิศใต้ : วัดพุทไธศวรรย์, หมู่บ้านโปรตุเกส,
เขต ๗ พื้นที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้แล้ว ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา : ปราสาทนครหลวง, วัดใหม่ประชุมพล, วัดชุมพลนิกายาราม,

คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ยังคงปรากฏร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของศิลป-วัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่   งดงาม   และทรงคุณค่า  สะท้อนให้รำลึกถึงภาพความโอ่อ่าสง่างามของปราสาทราชวังวัดวาอาราม ป้อมปราการ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาในอดีต นครประวัติศาสตร์แห่งนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงความชาญฉลาดของชุมชนหนึ่ง นับตั้งแต่การเลือกที่ตั้งชุมชนในบริเวณที่มีแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน เพื่อให้เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งเกษตรกรรมอันอุดมสมบรูณ์         พร้อมไปกับเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึกศัตรูจากภายนอก นอกจากนั้นผลงานด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์ และวรรณกรรม ยังเป็นประจักษ์พยานแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอารยธรรมแห่งชุมชน หนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔ อีกด้วย

              หลักฐานแห่งอารยธรรมของ ชาวกรุงศรีอยุธยาส่งผลให้นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการเชิดชูคุณค่าไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ในประพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ ๓ ดังนี้

              เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว


เข้าสู่หน้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา >>
More >>
 
 
๓. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (พุทธศักราช ๒๕๓๕)
(Ban Chiang Archaeological Site, 1992)
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๖ ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า ๔,๓๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน

วัฒนธรรมบ้านเชียง ได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก

คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นปรากฎการณ์สำคัญของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวแทนวิวัฒนาการด้านวัฒนธรรม สังคม และเทคโนโลยี ที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบทอดยาวนานกว่า ๕,๐๐๐ ปี ในช่วงเวลาระหว่าง ๓,๖๐๐ ปีก่อนคริสตศักราชถึงคริสตศักราช ๒๐๐ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในทะเบียนบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ ด้วยคุณค่าและความโดดเด่นตามหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ ๓ ดังนี้

“เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว”


เข้าสู่หน้า จังหวัดอุดรธานี >>

More >>
 
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ๒ แห่ง
 
๑. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่–ห้วยขาแข้ง (พุทธศักราช ๒๕๓๔)
(Thungyai – Huai Kha Khang Wildlife Sanctuaries, 1991)

  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งนับเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรก ของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลก โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่ ๘, ๙ และข้อที่ ๑๐ ดังนี้

(viii)

เป็นตัวอย่างที่เด่น ชัด  ในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา       และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได

(ix)

เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา

(x)

เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิด สัตว์และพันธุ์พืชที่หายาก หรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่ว โลกให้ความสนใจด้วย

 
คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง นับเป็นผืนป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ของประเทศ ที่เป็นตัวแทนแสดงลักษณะทางชีววิทยาที่สำคัญของผืนป่าในแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ ถึง ๔ เขต คือ ไซโน-หิมาลายัน (Sino-Himalayan) อินโด-เบอร์มิส (Indo-burmese) อินโด-ไชนิส (Indo-chinese) และซุนเดอิก (Sundaic) รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งเขต ที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบ นิเวศป่าเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
More >>
 
 
๒. ผืนป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ (พุทธศักราช ๒๕๔๘)
(Dong Phayayen – Khao Yai Forest Complex, 2005)
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๙ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ข้อที่ ๑๐  
คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
แหล่งมรดกโลกเขาใหญ่ ดงพญาเย็นนั้น เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นแหล่งที่มีชนิดพันธุ์ของพืชและสัตว์ที่ไม่สามารถพบได้ที่อื่นเป็นจำนวนมาก โดยในจำนวนพืชราว ๑๕,๐๐๐ ชนิดที่พบในประเทศไทย สามารถพบในแหล่งมรดกโลกนี้ถึง ๒,๕๐๐ ชนิด มีพืชเฉพาะผืนป่านี้ถึง ๑๖ ชนิด มีสัตว์ป่ากว่า ๘๐๐ ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๑๑๒ ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า ๒๐๙ ชนิด นกกว่า ๓๙๒ ชนิด และเงือก ๔ ชนิด ใน ๖ ชนิดที่พบในประเทศไทย
More>>
 
ที่มาของภาพ และข้อมูล
ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก กระทรวงวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์
 
:: ประตูสู่อินโดจีน
ข้อมูลแม่น้ำโขง
อินโดจีน
ไทยประตูสู่อินโดจีน
เมืองชายแดนประเทศไทย
โปรโมชั่นลุ่มแม่น้ำโขง
การเดินทาง
กรอบความร่วมมือ GMS
ข่าว บทความ ไทยประตูสู่อินโดจีน
ปลายทางอินโดจีน
   ลาว > หลวงพระบาง-เวียงจันทน์
   ลาวใต้ > ปากเซ
   จีนตอนใต้ > สิบสองปันนา นครคุนหมิง
   เวียดนามเหนือ > ฮานอย ฮาลอง
   เวียดนามกลาง > เว้ ดานัง ฮอยอัน
   เวียดนามใต้ > โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
   เมียนมาร์ > ย่างกุ้ง หงสาวดี อินทร์แขวน สิเรียม
   เมียนมาร์ > มัณฑะเลย์ พุกาม อินเล
   กัมพูชา > เสียมราฐ นครวัด นครธม
   กัมพูชา > พะตะบอง พนมเปญ

เส้นทางท่องเที่ยว อินโดจีน
ปฏิทินท่องเที่ยว
สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
บันทึกความทรงจำ
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
ห้องภาพ

 
A2
A3
 
:: Banner tour 1
 
:: Banner tour 2
 

 
 
 
 
 
เมืองชายแดนไทย-ลาว เมืองชายแดนไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา เมืองชายแดนไทย-พม่า ข้อมูลการเดินทาง
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
ห้วยโกร๋น, จ.น่าน
บ้านฮวก, จ.พะเยา
เชียงของ, จ.เชียงราย
ท่าลี่, จ.เลย
จ.หนองคาย 
จ.บึงกาฬ
จ.อำนาจเจริญ
จ.อุบลราชธานี
จ.นครพนม
จ.มุกดาหาร
จ.อุบลราชธานี
จ.หนองคาย
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
เชียงของ, จ.เชียงราย
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.ศรีสะเกษ
จ.สุรินทร์
จ.บุรีรัมย์
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.จันทบุรี
บ้านหาดเล็ก, จ.ตราด
แม่สาย, จ.เชียงราย
จ.เชียงใหม่
จ.แม่ฮ่องสอน
แม่สอด, จ.ตาก
จ.กาญจนบุรี
จ.ประจวบคีรีขันธ์
จ.ระนอง
เอกสารการเดินทาง
รถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ
         
ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า จีนตอนใต้
ที่พัก หลวงพระบาง
ที่พัก นครเวียงจันทน์
ที่พัก วังเวียง
ที่พัก จำปาสัก
ที่พัก ไชยะบุรี
ที่พัก เดียนเบียนฟู
ที่พัก กว๋างนิง
ที่พัก ฮานอย ฮาลอง
ที่พัก เว้
ที่พัก ดานัง
ที่พัก ฮอยอัน
ที่พัก โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
ที่พัก เสียมราฐ
ที่พัก พนมเปญ
ที่พัก พะตะบอง
ที่พัก เกาะกง
ที่พัก กรุงสีหนุวิลล์
ที่พัก เชียงตุง
ที่พัก เมืองลา
ที่พัก เมียวดี
ที่พัก ย่างกุ้ง
ที่พัก มัณฑะเลย์
ที่พัก พุกาม
ที่พัก อินเล
ที่พัก สิบสองปันนา
ที่พัก คุนหมิง
   
ที่พัก เมืองชายแดนไทย
ไทย-ลาว และจีนตอนใต้
ไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม
ไทย-กัมพูชา
ไทย-พม่า
   
         
ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท  แพคเกจทัวร์ รถเช่า  อินเตอร์เน็ตและโทรข้ามแดน
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
ในประเทศ
ต่างประเทศ