เกี่ยวกับเรา | บริการ | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
           
 
 ปลายทาง   |  รีวิวท่องเที่ยว   |  รีวิวที่พัก   | รีวิวร้านอาหาร   |  สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
บริการ  :   โปรโมชั่น  |  ตั๋วเครื่องบิน  |  โรงแรม ที่พัก  |  แพคเกจทัวร์ |  รถเช่า  |  ข้อมูลการเดินทาง
 
:: ปลายทางอินโดจีน
ไทยประตูสู่อินโดจีน
ลาว > หลวงพระบาง-เวียงจันทน์
ลาวใต้ > ปากเซ
จีนตอนใต้ > สิบสองปันนา นครคุนหมิง
เวียดนามเหนือ > ฮานอย ฮาลอง
เวียดนามกลาง > เว้ ดานัง ฮอยอัน
เวียดนามใต้ > โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
เมียนมาร์ > ย่างกุ้ง หงสาวดี อินทร์แขวน สิเรียม
เมียนมาร์ > มัณฑะเลย์ พุกาม อินเล
กัมพูชา > เสียมราฐ นครวัด นครธม
กัมพูชา > พะตะบอง พนมเปญ
 
เกี่ยวกับเรา
สำหรับผู้ประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตรกับเรา
   สะสมแต้ม โลตัสพลัส

:: จังหวัดชายแดนไทย, เมืองชายแดน
เชียงของ พะเยา อุตรดิตถ์ น่าน เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม
มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี สระแก้ว ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ จันทบุรี
ตราด แม่สาย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง
 
 
B08,
B09

สารบัญที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
การเดินทาง
โปรโมชั่น
บันทึกความทรงจำ


บึงกาฬ > กิจกรรมท่องเที่ยว  
ภาพโดย : thai.tourismthailand.org
กิจกรรมท่องเที่ยวใน จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดใกล้เคียง
วิถีชีวิตชุมชน ไหว้พระ วัดวาอาราม
สัมผัสธรรมชาติ ชมสิ่งก่อสร้าง
ขับรถเที่ยว ปั่นจักรยาน
ชมวิถีเกษตร ตีกอล์ฟ
ผจญภัย ประตูสู่อินโดจีน
 
กิจกรรมท่องเที่ยว
วิถีชีวิตชุมชน
ตลาดลาว
เป็นตลาดนัดของอำเภอเมืองบึงกาฬ มีเฉพาะวันอังคารและ วันศุกร์ ที่เรียกว่าตลาดลาวเนื่องจากมีแม่ค้าจากฝั่งลาวนำของมาขายเป็นจำนวนมาก ทั้งพืชผัก อาหารแห้งและอาหารสด
 
  ผ้าไหม ผ้าทอ  
 

กลุ่มผ้าทอพื้นเมืองบ้านสะง้อ
๑๐๙ หมู่ ๒ บ้านสะง้อ ตำบลหอคำ
โทร. ๐๘ ๔๒๔๒ ๒๕๒๔, ๐๘ ๙๕๗๕ ๓๖๔๙
(จำหน่ายผ้าขาวม้า ผ้าห่ม ผ้าคลุมไหล่ ฯลฯ)

 
  งานประจำปีที่ทำเพื่อสักการะแด่หลวงพ่อพระใหญ่  
งานแข่งขันเรือยาวประเพณี ไทย- ลาว ณ ลำน้ำโขง อ.เมือง จ. บึงกาฬ
การแข่งขันเรือยาวที่บึงกาฬเป็นขนบธรรมเนียมที่ดีงามของท้องถิ่นลุ่มแม่ น้ำโขง โดยเริ่มต้นเมื่อปี 2510 มีการเชิญเรื่อในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงรวมทั้งเรือจาก สปป.ลาว เข้าร่วมแข่งขัน เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากมีการแข่งเรือแล้วภายในงานยังจัดให้มีการออกร้านแสดงสินค้า โอท็อปจากทั่วประเทศ

 
  งานวันสงกรานต์ / งานแห่เทียนพรรษ / งานลอยกระทง / งานขึ้นปีใหม่ /  
     
ไหว้พระ วัดวาอาราม
วัดโพธาราม (วัดหลวงพ่อพระใหญ่)
เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใหญ่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ (๕ ฟุต ๔ นิ้ว) ประดิษฐานบนแท่น ๔ เหลี่ยม ซึ่งได้ บูรณะขึ้นใหม่ในปี ๒๕๓๗ ชาวบึงกาฬได้จัดให้มีการสมโภชหลวงพ่อพระใหญ่ ปีละ ๒ ครั้ง คือประเพณีบุญเดือน ๓ หรือบุญข้าวจี่ มีการถวายปราสาทผึ้งด้วย และประเพณีสรงน้ำหลวงพ่อพระใหญ่ จัดงานสัปดาห์หลังเทศกาลสงกรานต์ พระพุทธคุณ ให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีตำแหน่งการงานที่ใหญ่ขึ้น มีโชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย การสักการะ บนบาน สักการะด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และบนบานดว้ ยบั้งไฟ ตะไล ซึง่ ในอุโบสถจะใหผ้ชู ายเท่านั้นเข้าไปกราบไหว้ สว่ น สุภาพสตรีให้กราบไหว้ บนบานหน้าอุโบสถ
 
  วัดสามัคคีอุปถัมภ์ (วัดภูกระแต)
วัดสามัคคีอุปถัมภ์ (วัดภูกระแต) หลวงพ่อทองคูณ สิริกาโม (พระญาณ สิทธาจารย์) เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย (ธ) เป็นพระสายกรรมฐานรุ่นแรก สาย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ รุ่นเดียว กับพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยา คีรีวิหาร (ภูทอก) เป็นพระที่มีความ เมตตา มีบารมีสูง กราบไหว้ขอพรเพื่อ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และในศาลาการเปรียญประชาชนนิยมเดินทางไปเพื่อกราบไหว้ ขอพรพระสังกัจจายน์ ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปหน้าตัก ๓๐ นิ้ว ชาวบ้านนิยม บนบานขอพร ให้เจริญรุ่งเรืองในด้านค้าขาย อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งชาวบ้านนิยม สักการะด้วยดอกไม้ ธูปเทียนและพวงมาลัย
 
  วัดศรีโสภณธรรมทาน (วัดใต้)
วัดศรีโสภณธรรมทาน (วัดใต้) สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธโสภณมงคลใต้ เป็น พระพุทธรูปสมัยล้านช้าง เนื้อทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย (ลักษณะเดียวกับหลวงพ่อ พระใส จังหวัดหนองคาย) พระพุทธรูป เก่าแก่สมัยล้านช้างอีก ๓ องค์ และรูปปั้น หลวงพ่อเมฆ (อดีตเจ้าคณะอำเภอบึงกาฬ) เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้าน นิยมขอพร ให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญ รุ่งเรืองในหน้าที่การงาน มีโชคลาภ ใช้ดอกไม้ ธูปเทียน และพวงมาลัย ในการ กราบขอพรและใช้ขันธ์ ๕ ในการบนบาน
 
  วัดป่าบ้านพันลำ
ตำบลวิศิษฐ์ เป็นวัดสังกัดมหานิกาย อยู่ริม แม่น้ำโขง เป็นวัดที่เป็นแหล่ง ปฏิบัติธรรมที่น่าเลื่อมใสอีก วัดหนึ่ง มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ หลวงพ่อศิลา เป็นพระพุทธรูป ปางประทานพร ที่แกะสลักขึ้น จากหิน หน้าตักขนาด ๔๐ นิ้ว เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนในแถบนี้ มี ความเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้มาสักการะบูชา จะได้โชคลาภ และ แคล้วคลาดปลอดภัย จากภัยอันตรายต่างๆ การสักการะใช้ดอกไม้ ธูปเทียนและ พวงมาลัย ในการบนบานขอโชคลาภ
 
  วัดบุพพราชสโมสร (วัดกลาง)
เป็นวัดที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรม อยู่ติด ริมโขง ใกล้กับเทศบาลตำบลบึงกาฬ เป็นวัดเจ้าคณะอำเภอเมืองบึงกาฬ เป็น เจ้าอาวาสวัด พระประธานในอุโบสถ คือ หลวงพ่อวัดกลาง เป็นพระพุทธรูปโบราณ ก่ออิฐถือปูน ศิลปะล้านช้าง หน้าตัก ๕๙ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพเลื่อมใส ศรัทธาของชาวบึงกาฬอีกองค์หนึ่ง จากหิน หน้าตักขนาด ๔๐ นิ้ว เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนในแถบนี้ มี ความเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้มาสักการะบูชา จะได้โชคลาภ และ แคล้วคลาดปลอดภัย จากภัยอันตรายต่างๆ การสักการะใช้ดอกไม้ ธูปเทียนและ พวงมาลัย ในการบนบานขอโชคลาภ
 
  วัดสว่างอารมณ์ (วัดถ้ำศรีธน)
เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด บึงกาฬ มีเนื้อที่ ๔๐ ไร่ มีประวัติ ความเป็นมาเล่าว่า เดิมบริเวณนี้เป็นที่ อยู่ของชาวบ้านปากคาด ซึ่งอพยพ มาจากบ้านปากกล้วย แขวงเมืองปากซัน ประเทศลาว และเมื่อก่อนยังเป็นป่าดงดิบ รกทึบเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ซึ่ง ในแต่ละปีจะมีพระภิกษุธุดงค์มาอยู่เป็น ประจำ เพราะเป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ต่อมาพระ อธิการดอนอินทสาโร หรือหลวงปู่ด่อน ซึ่งเป็นพระที่ชาวบ้านปากคาดเคารพ นับถือ ได้สร้างวัดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา และเจริญยิ่งขึ้นตามลำดับจนถึงปัจจุบัน เหตุที่เรียกกันอีกชื่อว่า “วัดศรีธน” นั้น สันนิษฐานว่า อาจจะเป็นเพราะว่า วัดแห่งนี้อยู่ใกล้กับเมืองเป็งจาน นครราช ซึ่งเป็นเมืองของท้าวศรีธน ตั้งอยู่บริเวณลานหินเนินเขา ร่มรื่นด้วย ต้นไม้และลำธารเล็กๆ ไหลผ่านบริเวณ ใต้โขดหินใหญ่ ภายในวัดประดิษฐาน พระนอน ส่วนบนโขดหินมีอุโบสถ ทรงระฆังคว่ำ หากขึ้นไปถึงด้านบน สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลจนถึง ฝั่งลาว
การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ถึงอำเภอ ปากคาด มีทางแยกขวาเข้าวัดไป ประมาณ ๕๐๐ เมตร
 
ภูทอก ภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว อยู่ ในเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง เป็นภูเขาหินทราย มองเห็นได้แต่ไกล ประกอบด้วย ภูทอกใหญ่ และ ภูทอกน้อย แต่ก่อนบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่า อาศัยอย่มู ากมาย พระอาจารยจ์ วน กุลเชฏโฐ ได้เข้า มา จัดตั้งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่ เงียบสงบมาก
ภูทอกน้อย เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอด ภูทอก โดยต้องเดินไปตามสะพานไม้เวียนรอบเขาสูงชัน จนถึงยอด สะพานไม้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของ พระ เณร และชาวบ้าน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ใช้เวลานานถึง ๕ ปี บันไดที่ขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้ เปรียบเสมือนเส้นทางธรรมที่น้อมนำสัตบุรุษให้พ้นโลกแห่งโลกียะสู่โลกแห่งโลกุตระ หรือโลกแห่งการหลุดพ้นด้วย ความเพียรพยายามและมุ่งมั่น ภูทอกยังคงเป็นสถานที่ ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติศาสนกิจของชุมชน บันไดขึ้นภูทอก แบ่งออกเป็น ๗ ชั้น ดังนี้
ชั้นที่ ๑-๒ เป็นบันไดสู่ชั้นที่ ๓ ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียน รอบเขา สภาพเป็นป่าเขาครึ้ม มีโขดหิน ลานหิน สุดทาง
ชั้นที่ ๓ มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่
ชั้นที่ ๕ ได้เลย แต่เป็นทางชันมาก ต้องผ่านอุโมงค์มืด ทาง ขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ ๔
ชั้นที่ ๔ เป็นสะพานลอยเวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่าง จะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออก จดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่า บนชั้นที่ ๔ นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ ๔๐๐ เมตร มีที่พักระหว่างทางเป็นระยะๆ
ชั้นที่ ๕ มีศาลาและกุฏิที่อาศัยของพระ ตามช่องทางเดิน จะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ ๖ มีที่พักเป็นลานกว้าง หลายแห่ง มีหน้าผาชื่อต่างๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ภูทอก ผาเทพสถิต เป็นต้น ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหิน ธรรมชาติทอดสู่พระวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไป จะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มักหยุดการเดินทาง เพียงแค่นี้ เพราะจากชั้นที่ ๖ สู่ชั้นที่ ๗ เป็นสะพานไม้ยาว ๔๐๐ เมตร เวียน รอบเขาซึ่งเป็นหน้าผาสูงชัน สุดทางที่ชั้น ๗ เป็นป่าไม้ร่มครึ้ม
* ภูทอก ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นในวันที่ ๑๐-๑๖ เมษายน ของทุกปี

การเดินทาง จากอำเภอเมืองบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข ๒๒๒ ถึงอำเภอศรีวิไล มีทางแยกซ้ายอีก ๓๐ กิโลเมตร ผ่านบ้านอู่คำ บ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม บ้านแสงเจริญ สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอก
 
  ศาลเจ้าแม่สองนาง
ตั้งอยู่หน้า โรงพยาบาลบึงกาฬ ในตลาดอำเภอเมือง บึงกาฬ โดยปกติประชาชนที่อาศัยอยู่ริม แม่น้ำโขงจะเสียชีวิตในลำน้ำโขงปีละหลายคน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการกระทำของเทพเจ้าทางน้ำ ชาวบ้านจึงจัดให้มีพิธีบวงสรวงเจ้าแม่สองนาง เพื่อเป็นสิริมงคลและให้คุ้มครองผู้ที่ประกอบ อาชีพทางน้ำให้พ้นจากภัยอันตราย ชาวบ้าน นิยมสักการะเพื่อขอให้การค้าขายเจริญ รุ่งเรือง การเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย โดยเฉพาะทางน้ำ ใช้ดอกไม้ธูป เทียน พวงมาลัย มะพร้าวอ่อน และน้ำแดง ในการสักการะ
 
     
สัมผัสธรรมชาติ
สะดือแม่น้ำโขง
บริเวณหน้าวัดอาฮงศิลาวาส (แก่งอาฮง) เป็นจุดที่ลึกที่สุดในแม่น้ำโขง หรือเรียก กันว่า “สะดือแม่น้ำโขง” ได้เคยมีการวัดโดยใช้เชือก ผูกกับก้อนหินหย่อนลงไปได้ถึง ๙๘ วา ในฤดูน้ำหลากกระแสน้ำจะไหลวนเป็น รูปกรวยขนาดใหญ่ เมื่อรูปกรวยแตก จะมีเสียงคล้ายกระแสน้ำไหลเซาะโขดหิน แล้วจะค่อยๆ หายไป เมื่อกระแสน้ำเชี่ยวมาอีกก็จะก่อตัวขึ้นใหม่เกิดสลับกัน ตลอดทั้งวัน ส่วนหน้าแล้งในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะมองเห็นแก่งชัดเจน
 
  หนองกุดทิง
ห่างจากตัวอำเภอ เมืองบึงกาฬ ๕ กิโลเมตร เป็นหนองน้ำ ขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๒๒,๐๐๐ ไร่ ลึก ๕- ๑๐ เมตร มีความ หลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย สัตว์น้ำกว่า ๒๕๐ สายพันธ์ุ ปลาที่เป็น เอกลักษณ์ไม่มีที่ใดในโลก ๒๐ สายพันธุ์ พืชน้ำกว่า ๒๐๐ ชนิด นกพันธุ์ต่างๆ กว่า ๔๐ ชนิด และเป็นที่ประกอบอาชีพ ของประชาชนในพื้นที่กว่า ๒,๐๐๐ ครัวเรือน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ ดังกล่าวจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ ชุ่มน้ำ (พื้นที่แรมซาร์) สำคัญของโลก เป็นแห่งที่ ๑๑ ของประเทศไทย
 
  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
ตั้งอยู่บ้านดอนจิก เลยอำเภอบุ่งคล้า ๓ กิโลเมตรและเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ ๖ กิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามี เนื้อที่ ๑๘๖.๕ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๑๖,๕๖๒ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขต อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอ บึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย ๑๕๐-๓๐๐ เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่ เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหิน และทุ่งหญ้า มีสัตว์ป่าชุกชุม เช่น ช้าง เก้ง หมี ชะมด ไก่ฟ้า ไก่ป่า ลิง ชะนี นานาชนิด แต่เนื่องจากมีป่าดงดิบใน เขตจำกัดประมาณ ๔๐ ตารางกิโลเมตร เท่านั้น สัตว์ใหญ่จึงไม่สามารถเพิ่ม ขยายพันธุ์ได้มาก และที่เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าภูวัว มีสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่พบ เพียงแห่งเดียวในประเทศ และในโลก คือ “กิ้งก่าภูวัว” (Ptyctolaemus Phuwuanensis) กิ้งก่าชนิดนี้ มีการ ดำรงชีวิตต่างจากกิ้งก่าชนิดอื่น ตอน กลางวันจะอาศัยในถ้ำหรือโพรงหิน ตอนกลางคืนจะออกหากิน เหมาะ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ โทร. ๐๙ ๐๓๗๑ ๕๗๕๖
 
  น้ำตกถ้ำฝุ่น
อยู่ในบริเวณบ้านภูสวาท ตำบลหนองเดิ่น ตามทางหลวง หมายเลข ๒๑๒ ก่อนถึงอำเภอบุ่งคล้า ๗ กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปน้ำตก ๔ กิโลเมตร รอบๆ เป็นป่าโปร่งที่มีทิวทัศน์สวยงาม ทางเดินไปน้ำตกผ่านลานหินทราย กว้างขวาง น้ำตกไหลมาจากหน้าผาหินทรายที่มีลักษณะเป็นร่องแคบ มองเห็น สายน้ำตกเป็นทางยาว มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน
 
  น้ำตกเจ็ดสี
ตั้งอยู่บ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา น้ำตกเจ็ดสี เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก โดยเฉพาะใน ฤดูฝน น้ำตกเกิดจากธารน้ำของห้วย กะอาม ไหลมาตามหน้าผาหินทราย สูง และแผ่กว้างเป็นทางยาว ละอองน้ำเมื่อ กระทบกับแสงแดดทำให้เกิดเป็นสีรุ้ง จึงเรียกว่า น้ำตกเจ็ดสี
การเดินทาง ใช้ทางหลวง หมายเลข ๒๑๒ ก่อนถึงบุ่งคล้า ๑๒ กิโลเมตร มีทางแยกขวาที่บ้านชัยพร ผ่านบ้านภูเงิน บ้านดอนเสียดไปถึง น้ำตกเป็นระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร หรือ หากเดินทางจากภูทอกใช้เส้นทางที่ผ่าน บ้านนาต้อง บ้านดอนเสียด รวมระยะ ทางจากภูทอก ๑๔ กิโลเมตร
 
น้ำตกภูถ้ำพระ
ตั้งอยู่บริเวณบ้านถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา อยู่ห่างจากอำเภอ เซกา ๓๔ กิโลเมตร มีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น บริเวณน้ำตกเงียบสงบและร่มรื่น เป็นที่ตั้งของ สำนักสงฆ์ เมื่อเดินขึ้นมาบนลานหินด้านหลัง จะ พบหุบเขาแอ่งกระทะขนาดกว้างประมาณ ๒๐๐ ตารางเมตร น้ำตกจะไหลผ่านหน้าผากว้าง ราว ๑๐๐ เมตร สูงประมาณ ๕๐ เมตร และ ไหลรวมกันยังแอ่งเบื้องล่าง สามารถลงเล่นน้ำได้
การเดินทาง จากอำเภอบุ่งคล้าไปตาม ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ระยะทาง ๒๔ กิโลเมตร ถึงบ้านท่าดอกคำ มีทางดินแยกขวาไป จนถึงห้วยบางบาตร และต่อเรือชาวบ้านไปยัง น้ำตก
 
  น้ำตกชะแนน
ตั้งอยู่บ้านภูเงิน อำเภอเซกา เดิมชื่อน้ำตกตาดสะแนน ตาดแปลว่า “ที่ซึ่งมีน้ำไหล” สะแนน มีความหมายว่า “สูงสุดยอด” หรือ “เยี่ยมยอด” น้ำตกชะแนนเกิดจาก ลำห้วยสะแนนไหลลดหลั่น ๒ ชั้น มี ขนาดกว้างประมาณ ๑๐๐ เมตร ระหว่างชั้นที่ ๑ กับชั้นที่ ๒ ห่างกัน ๓๐๐ เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มี ความสวยงาม มีน้ำเฉพาะฤดูฝน ระหว่างทางจะผ่านขัวหิน (สะพานหิน) ซึง่ เปน็ ปรากฏการณ์ธรรมชาตที่น้ำลอด หายไปใต้สะพานหินที่มีความยาว ประมาณ ๑๐๐ เมตร การเดินไปชั้นที่สอง ของน้ำตกชะแนน จะผ่านแนวลำธารที่ เต็มไปด้วยโขดหิน เดินตามลำธารไปทางชายฝั่งด้านซ้ายมือ จนถึงทางออกที่ลานกว้าง ริมแอ่งน้ำใหญ่ เหนือแอ่งน้ำ ขึ้นไปเป็นน้ำตกเตี้ยๆ ไหล ลงสู่แอ่ง เรียกกันว่า “น้ำตกบึงจระเข้”
การเดินทาง ใช้ เส้นทางเดียวกับน้ำตกเจ็ดสี โดยใช้เส้นทางบ้าน ชัยพร-บ้านภูเงิน ระยะทาง ๑๓ กิโลเมตร จะพบทางแยก ไปน้ำตกชะแนนอีก ๕ กิโลเมตร ทางช่วงสุดท้ายเป็นทาง ดินแคบขรุขระและไม่สะดวกต้องใช้มอเตอร์ไซค์เท่านั้น
 
  น้ำตกสะอาม
เป็นน้ำตกใหญ่และสวยงามอีกแห่งหนึ่งอยู่ด้านตะวันตกของ ภูวัว อยู่ที่ ตำบลโพหมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง บริเวณน้ำตกมีแนวสันเป็นภูผาหิน กับลานหินที่มีลักษณะแปลกตาออกไปเป็นระยะยาว ๓-๕ กม. จากลานหินบนสันภู มองเห็นทิวทัศน์ภูวัวด้านตะวันตกได้ตลอดแนว
 
  โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นเส้นทางเชิงนิเวศ เกิดจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ พื้นที่ป่าภูทอกน้อย ท้องที่บ้านภูสวาท ม.๖ ต.หนองเดิ่น อ.บุ่งคล้า มีพื้นที่ป่าจำนวน ๒,๑๑๕ ไร่ สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์มาก โดยปลูกฟื้นฟูป่าไว้แล้ว จำนวน ๑,๑๕๐ ไร่ ปลูกสมุนไพรกว่า ๑๐๐ ชนิด และที่สำคัญที่สุดได้ค้นพบพันธุ์ไม้ ชนิดใหม่ของโลก ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกให้เป็นชื่อ Bauhinia Sirindhornlae นอกจากนี้ในโครงการอนุรักษ์ฯ ยังมีพันธุ์กล้วยไม้มากมาย หลากหลายชนิด เช่น ดอกคูลูนางอั้ว ดอกผึ้ง ชายผ้าสีดา กระแตไต่ไม้ สิงโตกรอกตา กล้วยไม้ ดิน เช่น ดุสิตา (ดอกขมิ้น) สร้อยสุวรรณา (หญ้าสีทอง) เอื้องหมายนา (ม้าวิ่ง) และยังมี สัตว์ป่าเข้ามาอยู่อาศัย เช่น ไก่ป่า หมูป่า เก้ง กระต่าย เม่น กระจง กระรอกเผือก กระรอกดำ กระแต นกเป็ดน้ำ และนกหลายชนิด

การเดินทาง จากจังหวัดหนองคายมุ่งหน้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ถึงจังหวัด บึงกาฬ ระยะทาง ๑๓๕ กม. ตรงไปยัง อ.บุ่งคล้า อีก ๒๐ กม. ก็จะเห็นป้ายขนาดเล็ก ทางขวามือเขียนว่า “อ่างเก็บน้ำห้วยบังบาตร” มีรถประจำทาง บขส.วิ่งอยู่ ๑ สาย คือ สาย ๒๒๔ เป็นรถ ป.๒ อุดรธานี-นครพนม มี ๒ เที่ยว คือ เวลา ๐๗.๓๐ น. และ ๑๐.๓๐ น. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๓ ชม. และรถธรรมดาสายอุดรธานี-นครพนม ทุก ๔๕ นาที เริ่มตั้งแต่ ๐๖.๐๐-๑๖.๓๐ น. ใช้เวลาในการเดินทาง ๔ ชม. ถ้านักท่องเที่ยวต้องการนำรถไป ควรจะเป็นรถขับเคลื่อนสีล้อ (โฟว์วีล) เพื่อความสะดวกในการเดินทาง ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ นำทางเพื่อความปลอดภัย และเป็นระเบียบป้องกันการหลงป่า เนื่องจากพื้นที่โครงการ อนุรักษ์ฯ ค่อนข้างคดเคี้ยวและขรุขระ สำหรับจุดชมวิวใช้เวลาเดินเท้าประมาณ ๑ ชม. นอกจากนี้ โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ยังมีเนื้อที่ ติดกับ “ห้วยบังบาตร” หรือ “บึงบังบาตร” ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมธรรมชาติ รอบๆ บึงได้ ทางโครงการอนุรักษ์ก็มีเรือสำหรับบริการ เรือลำหนึ่งนั่งได้ ๓-๔ คน ค่าโดยสาร ๒๐๐ บาท/ลำ/เที่ยว ใช้เวลาในการชมรอบบึงประมาณ ๓ ชม. สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการ ผจญภัยโดยใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ (โฟว์วีล) เดินป่า ชมธรรมชาติ ตั้งแค้มป์ ขี่จักรยานเสือภูเขา ควรเดินทางในช่วงเดือนกันยายน-มกราคม เนื่องจากช่วงนั้นดอกไม้จะบานสะพรั่ง ป่าไม้เขียวขจี

สิ่งอำนวยความสะดวก ที่โครงการอนุรักษ์ฯ มีเรือนพักรับรองนักท่องเที่ยว ๒ หลัง พักได้ประมาณ ๒๐ คน มีพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ ๒ จุด ส่วนอาหารทางโครงการอนุรักษ์ฯ ก็มีบริการรับจัดทำอาหาร (แต่จำนวนนักท่องเที่ยวต้อง ๕ คนขึ้นไป) และควรติดต่อล่วงหน้า ส่วนนักท่องเที่ยวที่ต้องการทำอาหารรับประทานเองควรนำเสบียงมาด้วย สามารถขอข้อมูล เพิ่มเติม สอบถามได้ที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๐ (อุดรธานี) โทร. ๐ ๔๒๒๒ ๑๗๒๕
 
  หาดสีดา
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเดิ่นท่า ตำบลหนองเดิ่น เป็นหาดทรายขาวสะอาด สวยงาม มีความยาวตามริมฝั่งแม่น้ำโขง ยาวประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร เหมาะที่จะเป็น สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีทิวทัศน์สวยงาม โดยที่กลางลำน้ำโขงตรงข้ามกับหาดทราย จะมีแนวโขดหินเป็นแนวยาว จึงทำให้ บริเวณแม่น้ำโขงบริเวณดังกล่าวไหลเชี่ยว เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีทิวเขาภูงู ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ที่ทอดยาวไปตามลำน้ำโขง นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ สวยงามแล้ว หาดสีดายังเป็นสถานที่ซึ่ง ประชาชนชาวอำเภอบุ่งคล้าจัดให้เป็นแหล่ง อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทยไว้ คืองานประเพณีสงกรานต์ของอำเภอบุ่งคล้า ซึ่งจัดทุกๆ ปีในระหว่างวันที่ ๑๓–๑๕ เมษายน โดยจัดให้มีพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุและ บุคคลที่สำคัญของอำเภอ ด้วยธรรมชาติ หาดทรายที่ขาวสะอาด มีเกาะแก่งลำน้ำโขง ทัศนียภาพที่สวยงาม ทำให้ทุกๆ ปี จะมี นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมาเที่ยวที่หาดสีดา อย่างสม่ำเสมอ การเดินทาง ระยะทางจากจังหวัด หนองคาย ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ หนองคาย-นครพนม ช่วงกิโลเมตรที่ ๑๗๑-๑๗๒ เลี้ยวซ้ายเข้าไปยังที่ตั้งของ หาดสีดาอีกประมาณ ๒.๕ กม. โดยจะมีป้าย บอกสัญลักษณ์อย่างชัดเจน เป็นถนนลาดยาง จนถึงทางลงหาด
 
บึงโขงหลง
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาตินิเวศ และแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ มีลักษณะแคบและยาว มีเนื้อที่ ๘,๐๖๔ ไร่ น้ำในบึงลึกโดยเฉลี่ยประมาณ ๐.๐๕– ๑.๐ เมตร ต้นน้ำของบึงโขงหลงเกิดจากภูวัวและภูลังกาไหลมารวมกัน เดิมเป็น ลำน้ำแคบๆ ไหลลงลำห้วยฮี้ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำสงคราม และไหลลงสู่แม่น้ำโขง ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ กรมชลประทานพจิ ารณาโครงการเกบ็ กกั น้ำเพื่อการเกษตรในฤดแล้งดำเนินการ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ บึงโขงหลงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติอันดับที่ ๑,๐๙๘ ของโลก (Wetland of International Importance) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ มีพื้นที่กว่า ๒๒ ตารางกิโลเมตร ยาว ๑๓ กิโลเมตร กว้าง ๒ กิโลเมตร เป็นแหล่ง อาศัยของสัตว์น้ำ และพืชน้ำนานาชนิด พบนกน้ำกว่า ๑๐๐ ชนิด รวมทั้งปลาบู่แคระ ที่หาดูได้ยาก บึงโขงหลงเป็นที่พักอาศัยของนกอพยพมากกว่า ๓๐ ชนิด ในช่วง ฤดูหนาว ตามเส้นทางการอพยพ The eartern asia flyway ได้แก่ เป็ดแดง นกยางโทนน้อย นกยางเมีย นกอีแจว เป็ดลาย เป็นต้น สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่เบอร์ ๐๘๑–๙๕๔๘๙๙๐ การเดินทาง จากตัวเมืองบึงกาฬใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๒๒ เลี้ยวเข้า ทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๖ ผ่านอำเภอเซกา บึงโขงหลงจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ
 
     
ชมสิ่งก่อสร้าง
บึงกาฬ  
     
     
ขับรถเที่ยว
บึงกาฬ  
     
     
ปั่นจักรยาน
บึงกาฬ  
     
     
ชมวิถีเกษตร
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหอคำ
ติดต่อคุณประเนียร ทีหอคำ
โทร. ๐ ๘๕๐๐ ๗๔๖๐
(จำหน่ายลูกหยียักษ์แม่ประเนียร)
 
  - สับปะรดบ้านโนนสง่า
 
  งานวันยางพาราที่บึงกาฬ
กิจกรรมอบรม สัมมนาและนิทรรศการที่น่าสนใจเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องยางพารา ความรู้เรื่องการเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก การจัดการสวนยางพารา การกรีดยางให้ได้คุณภาพและกิจกรรมครบเครื่องเรื่องยางพาราอีกมากมาย
ติดต่อ : จังหวัดบึงกาฬ โทรศัพท์ 042-492-720-1
ททท. สำนักงานอุดรธานี Tel. +66 4232 5406-7
 
     
 
ตีกอล์ฟ
ตีกอล์ฟ
สนามกอล์ฟบึงกาฬ
อ่านต่อ >>
ผจญภัย
บึงกาฬ  
     
     
ประตูสู่อินโดจีน
ประตูสู่อินโดจีน
ประเทศไทย ศูนย์กลางเส้นทางเชื่อมโยงเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน อ่านต่อ >>
 
     
     
 
 
ที่มาของภาพ และข้อมูล
จังหวัดบึงกาฬ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ไทยประตูสู่อินโดจีน
จังหวัดชายแดนไทย-ลาว และจีนตอนใต้
เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุตรดิตถ์ น่าน พะเยา
 
จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา
สระแก้ว สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ตราด จันทบุรี
 
     
จังหวัดชายแดนไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม
หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี เชียงราย อุตรดิตถ์ สระแก้ว

 
จังหวัดชายแดนไทย-พม่า
เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง
 
   
 
* สำหรับผู้ประกอบการที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท, ร้านอาหาร, ร้านค้า และสถานประกอบการอื่นๆ สามารถแจ้งเพิ่ม แก้ไขข้อมูลรายละเอียดสถานประกอบการ และโปรโมชั่นได้ฟรี
ผ่านทาง e-mail : mekongrivertoday@ .com  
 
:: พันธมิตร(Partner) กับ MekongRiverToday.com
ร่วมเป็นพันธมิตร(Partner) กับเราเพื่อสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจของท่าน
แบบเพื่อนบ้าน (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)
  ผู้ประกอบการสามารถแจ้งข้อมูลรายละเอียดของที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านค้า ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการต่างๆ ของผู้ประกอบการให้กับ MekongRiverToday.com เพื่อรับหน้าเว็บเพจประชาสัมพันธ์ฟรี 1 หน้า พร้อมทั้งรับสิทธิ์แจ้งแก้ไขรายละเอียด และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>
แบบเพื่อนใจดี (นำสินค้าหรือบริการของท่าน มาแลกบริการของเรา)
  รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานเหมือนเพื่อนบ้าน และรับมากกว่า เช่น โฆษณาฟรีในตำแหน่งแบนเนอร์ว่าง, ประชาสัมพันธ์ผ่านข่าวหน้าแรก MekongRiverToday.com, MekongRiverToday fanpage และ twitter ส่วนลด และบริการโฆษณาฟรี /บริการออกแบบเว็บไซต์ และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>

อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่
สำหรับผู้ประกอบการ  
ติดต่อโฆษณา และประชาสัมพันธ์์ ดูรายละเอียดตำแหน่ง Banner อัตราค่าโฆษณา และโปรโมชั่น อ่านรายละเอียด คลิกที่นี่  
   
 
สะสมแต้ม โลตัสพลัส
ลงโฆษณากับเราวันนี้ รับแต้มสะสมเพื่อแลกรางวัลโฆษณาฟรีกับ MekongRiverToday.com
 
     
 
:: เมนู
ข้อมูลทั่วไป
ประตูสู่อินโดจีน
เมืองชายแดนประเทศไทย
การเดินทาง
โปรโมชั่น
ข่าวท่องเที่ยว
ปฏิทินท่องเที่ยว
สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
กิจกรรมท่องเที่ยว
เส้นทางท่องเที่ยว
บันทึกความทรงจำ
ที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
ร้านอาหาร กาแฟ เครื่องดื่ม
รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
ห้องภาพ





 
A2
A3
 

 
 
 
 
 
 
 
เมืองชายแดนไทย-ลาว เมืองชายแดนไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา เมืองชายแดนไทย-พม่า ข้อมูลการเดินทาง
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
ห้วยโกร๋น, จ.น่าน
บ้านฮวก, จ.พะเยา
เชียงของ, จ.เชียงราย
ท่าลี่, จ.เลย
จ.หนองคาย 
จ.บึงกาฬ
จ.อำนาจเจริญ
จ.อุบลราชธานี
จ.นครพนม
จ.มุกดาหาร
จ.อุบลราชธานี
จ.หนองคาย
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
เชียงของ, จ.เชียงราย
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.ศรีสะเกษ
จ.สุรินทร์
จ.บุรีรัมย์
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.จันทบุรี
บ้านหาดเล็ก, จ.ตราด
แม่สาย, จ.เชียงราย
จ.เชียงใหม่
จ.แม่ฮ่องสอน
แม่สอด, จ.ตาก
จ.กาญจนบุรี
จ.ประจวบคีรีขันธ์
จ.ระนอง
เอกสารการเดินทาง
รถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ
         
ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า จีนตอนใต้
ที่พัก หลวงพระบาง
ที่พัก นครเวียงจันทน์
ที่พัก วังเวียง
ที่พัก จำปาสัก
ที่พัก ไชยะบุรี
ที่พัก เดียนเบียนฟู
ที่พัก กว๋างนิง
ที่พัก ฮานอย ฮาลอง
ที่พัก เว้
ที่พัก ดานัง
ที่พัก ฮอยอัน
ที่พัก โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
ที่พัก เสียมราฐ
ที่พัก พนมเปญ
ที่พัก พะตะบอง
ที่พัก เกาะกง
ที่พัก กรุงสีหนุวิลล์
ที่พัก เชียงตุง
ที่พัก เมืองลา
ที่พัก เมียวดี
ที่พัก ย่างกุ้ง
ที่พัก มัณฑะเลย์
ที่พัก พุกาม
ที่พัก อินเล
ที่พัก สิบสองปันนา
ที่พัก คุนหมิง
   
ที่พัก เมืองชายแดนไทย
ไทย-ลาว และจีนตอนใต้
ไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม
ไทย-กัมพูชา
ไทย-พม่า
   
         
ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท  แพคเกจทัวร์ รถเช่า  อินเตอร์เน็ตและโทรข้ามแดน
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
ในประเทศ
ต่างประเทศ